1. แบ่งเงินจำนวนหนึ่งให้น้อย นิด และหน่อย โดยให้อัตราส่วนของจำนวนเงินที่น้อย นิด และหน่อยได้รับเป็น 3 : 4 : 5 ตามลำดับ จงหาอัตราส่วนของจำนวนเงินที่น้อยได้รับต่อจำนวนเงินทั้งหมด
วิธีทำ
อัตราส่วนของจำนวนเงินที่น้อย นิด และหน่อยได้รับเป็น 3 : 4 : 5
จะได้ว่าจำนวนเงินทั้งหมดเป็น 3 + 4 + 5 = 12 ส่วน
ดังนั้น อัตราส่วนของจำนวนเงินที่น้อยได้รับต่อจำนวนเงินทั้งหมด เป็น 3 : 12
ตอบ อัตราส่วนของจำนวนเงินที่น้อยได้รับต่อจำนวนเงินทั้งหมด เป็น 3 : 12
 
2. ⬜ABCD เป็นรูปสี่เหลี่ยมที่มีอัตราส่วนของความยาวของด้านต่างๆ ดังนี้
AB : CD = 4 : 3       BC : DA = 2 : 1       DA : CD = 1 : 3
จงเขียนอัตราส่วนของความยาวของด้านต่อไปนี้
วิธีทำ
เขียนอัตราส่วนของด้านทุกด้าน
เนื่องจาก
และ
จะได้
และจาก
ดังนั้น
AB : CD = 4 : 3
DA : CD = 1 : 3
AB : CD : DA = 4 : 3 : 1
BC : DA = 2 : 1
AB : BC : CD : DA = 4 : 2 : 3 : 1
 
1) BC : CD : DA
ตอบ BC : CD : DA = 2 : 3 : 1
 
2) AB : BC : CD
ตอบ AB : BC : CD = 4 : 2 : 3
 
3) AB : BC : CD : DA
ตอบ AB : BC : CD : DA = 4 : 2 : 3 : 1
 
4) ความยาวของด้าน BC ต่อความยาวรอบรูป
วิธีทำ
 
 
จาก AB : BC : CD : DA = 4 : 2 : 3 : 1
จะได้ ความยาวรอบรูป = 4 + 2 + 3 + 1 = 10
ดังนั้น    BC : ความยาวรอบรูป = 2 : 10
ตอบ อัตราส่วนของความยาวของด้าน BC ต่อความยาวรอบรูป เป็น 2 : 10
 
3. อัตราส่วนของอายุนารีต่ออายุของโชติ เป็น 4 : 3
อัตราส่วนของอายุของโชติต่ออายุของบุปผา เป็น 6 : 7
1) จงหาอัตราส่วนของอายุของนารีต่ออายุของโชติต่ออายุของบุปผา
วิธีทำ
อัตราส่วนของอายุนารีต่ออายุของโชติ เป็น 4 : 3
อัตราส่วนของอายุของโชติต่ออายุของบุปผา เป็น 6 : 7
จะได้ อัตราส่วนของอายุนารีต่ออายุของโชติ เป็น 4 : 3 = 4 x 2 : 3 x 2 = 8 : 6
ดังนั้น อัตราส่วนของอายุของนารีต่ออายุของโชติต่ออายุของบุปผา เป็น 8 : 6 : 7
ตอบ อัตราส่วนของอายุของนารีต่ออายุของโชติต่ออายุของบุปผา เป็น 8 : 6 : 7
 
2) ถ้าโชติมีอายุ 18 ปี จงหาอายุของนารีและอายุของบุปผา
วิธีทำ
อัตราส่วนของอายุของนารีต่ออายุของโชติต่ออายุของบุปผา เป็น 8 : 6 : 7
ถ้าโชติมีอายุ 18 ปี
จะได้ 8 : 6 : 7 = 8 x 3 : 6 x 3 : 7 x 3 = 24 : 18 : 21
ดังนั้น นารีจะมีอายุ 24 ปี และบุปผาจะมีอายุ 21 ปี
ตอบ นารีมีอายุ 24 ปี และบุปผามีอายุ 21 ปี
 
4. พิมเสนน้ำตำรับคุณยายยุพิน ประกอบด้วย เมนทอล พิมเสน และการบูรในอัตราส่วนโดยน้ำหนัก เป็น 4 : 1 : 1 ตามลำดับ จงหาว่า
1) ถ้าใช้เมนทอล 200 กรัม จะต้องใช้พิมเสนและการบูรอย่างละกี่กรัม
วิธีทำ
อัตราส่วนโดยน้ำหนักของเมนทอลต่อพิมเสนต่อการบูร เป็น 4 : 1 : 1
ถ้าใช้เมนทอล 200 กรัม
จะได้ 4 : 1 : 1 = 4 x 50 : 1 x 50 : 1 x 50 = 200 : 50 : 50
ดังนั้น จะต้องใช้พิมเสนและการบูรอย่างละ 50 กรัม
ตอบ 50 กรัม
 
2) ถ้าต้องการพิมเสนน้ำ \(\mathtt{1\dfrac{1}{2}}\) กิโลกรัม จะต้องใช้ส่วนผสมอย่างละกี่กรัม
วิธีทำ
อัตราส่วนโดยน้ำหนักของเมนทอลต่อพิมเสนต่อการบูร เป็น 4 : 1 : 1
ซึ่งจะได้พิมเสนน้ำเท่ากับ 4 + 1 + 1 = 6
นั่นคือ อัตราส่วนโดยน้ำหนักของเมนทอลต่อพิมเสนต่อการบูรต่อพิมเสนน้ำ เป็น 4 : 1 : 1 : 6
ถ้าต้องการพิมเสนน้ำ \(\mathtt{1\dfrac{1}{2}}\) กิโลกรัม = \(\mathtt{\dfrac{3}{2}}\) x 1,000 = 1,500 กรัม
จะได้ 4 : 1 : 1 : 6 = 4 x 250 : 1 x 250 : 1 x 250 : 6 x 250 = 1,000 : 250 : 250 : 1,500
ดังนั้น จะต้องใช้เมนทอล 1,000 กรัม และใช้พิมเสนกับการบูรอย่างละ 250 กรัม
ตอบ เมนทอล 1,000 กรัม พิมเสน 250 กรัม และการบูร 250 กรัม
 
5. รูปสามเหลี่ยมรูปหนึ่งมีอัตราส่วนของขนาดของมุมทั้งสามเป็น 3 : 4 : 2 จงหาว่ามุมที่มีขนาดที่ใหญ่ที่สุดใหญ่กว่ามุมที่มีขนาดเล็กที่สุดกี่องศา
วิธีทำ
อัตราส่วนของขนาดของมุมทั้งสามของรูปสามเหลี่ยม เป็น 3 : 4 : 2
จะได้ผลรวมมุมภายในของรูปสามเหลี่ยมเท่ากับ 3 + 4 + 2 = 9
นั่นคือ อัตราส่วนของขนาดของมุมทั้งสามของรูปสามเหลี่ยมต่อผลรวมของมุมภายใน
เป็น 3 : 4 : 2 : 9
จาก ผลบวกของมุมภายในของรูปสามเหลี่ยมเท่ากับ 180°
จะได้ 3 : 4 : 2 : 9 = 3 x 20 : 4 x 20 : 2 x 20 : 9 x 20 = 60 : 80 : 40 : 180
นั่นคือ มุมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของรูปสามเหลี่ยมมีขนาด 80°
มุมที่มีขนาดเล็กที่สุดของรูปสามเหลี่ยมมีขนาด 40°
ดังนั้น มุมที่มีขนาดที่ใหญ่ที่สุดใหญ่กว่ามุมที่มีขนาดเล็กที่สุด = 80 – 40 = 40°
ตอบ 40°
 
6. ปุ๋ย NPK สูตร 8-24-24 หมายถึง ปุ่ยที่มีไนโตรเจน 8 ส่วน ฟอสฟอรัส 24 ส่วน และโพแทสเซียม 24 ส่วน โดยน้ำหนัก จงหาว่า
1) ถ้าในปุ๋ยมีไนโตรเจน 3 กิโลกรัม จะมีฟอสฟอรัสและโพแทซียมอย่างละกี่กิโลกรัม
วิธีทำ
อัตราส่วนของไนโตรเจนต่อฟอสฟอรัสต่อโพแทสเซียมในปุ๋ย เป็น 8 : 24 : 24
ถ้าในปุ๋ยมีไนโตรเจน 3 กก.
จะได้ 8 : 24 : 24 = 8 x \(\mathtt{\dfrac{3}{8}}\) : 24 x \(\mathtt{\dfrac{3}{8}}\) : 24 x \(\mathtt{\dfrac{3}{8}}\) = 3 : 9 : 9
ดังนั้น จะมีฟอสฟอรัสและโพแทซียมอย่างละ 9 กก.
ตอบ 9 กิโลกรัม
 
2) ถ้าในปุ๋ยมีโพแทสเซียม 9 กิโลกรัม จะมีส่วนผสมทั้งหมดกี่กิโลกรัม
วิธีทำ
จากข้อ 1) เมื่อในปุ๋ยมีไนโตรเจน 3 กก.
อัตราส่วนของไนโตรเจนต่อฟอสฟอรัสต่อโพแทสเซียมในปุ๋ย เป็น 3 : 9 : 9
นั่นคือ ถ้าในปุ๋ยมีโพแทสเซียม 9 กิโลกรัม
จะมีส่วนผสมทั้งหมดเท่ากับ 3 + 9 + 9 = 21 กก.
ตอบ 21 กิโลกรัม
 
7. ปุ๋ยชนิดหนึ่งมีอัตราส่วนผสมโดยน้ำหนักของไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และส่วนผสมอื่นๆ เป็น 1 : 2 : 1 : 6 ตามลำดับ จงหาว่าปุ๋ยชนิดนี้หนัก 1 ตัน จะมีไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และส่วนผสมอื่นๆ อย่างละกี่กิโลกรัม
วิธีทำ
อัตราส่วนผสมโดยน้ำหนักของไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม
และส่วนผสมอื่นๆ ของปุ๋ย เป็น 1 : 2 : 1 : 6
ซึ่งจะได้ปริมาณปุ๋ย = 1 + 2 + 1 + 6 = 10
นั่นคือ อัตราส่วนผสมโดยน้ำหนักของไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม
และส่วนผสมอื่นๆ ต่อปริมาณปุ๋ย เป็น 1 : 2 : 1 : 6 : 10
ถ้ามีปุ๋ยหนัก 1 ตัน = 1 x 1,000 = 1,000 กิโลกรัม
จะได้ 1 : 2 : 1 : 6 : 10 = 1 x 100 : 2 x 100 : 1 x 100 : 6 x 100 : 10 x 100
= 100 : 200 : 100 : 600 : 1,000
ดังนั้น ปุ๋ยหนัก 1 ตัน จะมีไนโตรเจน 100 กก. ฟอสฟอรัส 200 กก.
โพแทสเซียม 100 กก. และส่วนผสมอื่นๆ 600 กก.
ตอบ ไนโตรเจน 100 กิโลกรัม ฟอสฟอรัส 200 กิโลกรัม โพแทสเซียม 100 กิโลกรัม และส่วนผสมอื่นๆ 600 กิโลกรัม