1. สนามหญ้าแห่งหนึ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีอัตราส่วนของความกว้างต่อความยาว
เป็น 5 : 8 ถ้าสนามหญ้ามีความยาว 84 เมตร จงหาความกว้างของสนามหญ้าแห่งนี้
วิธีทำ
ให้สนามกว้าง m ม. ถ้าสนามมีความยาว 84 ม.
อัตราส่วนของความกว้างต่อความยาวของสนามเป็น 5 : 8
เขียนเป็นสัดส่วนได้ดังนี้
 
จะได้
\(\mathtt{\frac{m}{84}}\)
 
m
 = \(\mathtt{\frac{5}{8}}\)
 
 = \(\mathtt{\frac{5}{8} \times }\)84
 
m
 
 = 52.5
ดังนั้น สนามหญ้ากว้าง 52.5 ม.
ตอบ สนามหญ้ากว้าง 52.5 เมตร
 
2. ร้านจันทร์อัลลอย นำโลหะต่าง ๆ มาผสมเป็นโลหะเจือหรือโลหะผสม (alloy) ด้วยอัตราส่วนโดยน้ำหนักของเหล็กต่อนิกเกิล เป็น 21 : 5 และนิกเกิลต่อทองแดง เป็น 4 : 3 ถ้าต้องการได้โลหะเจือหนัก 2,142 กรัม จะต้องใช้โลหะต่าง ๆ ชนิดละกี่กรัม
วิธีทำ
อัตราส่วนโดยน้ำหนักของเหล็กต่อนิกเกิลเป็น 21 : 5
อัตราส่วนโดยน้ำหนักของนิกเกิลต่อทองแดงเป็น 4 : 3
จะได้
อัตราส่วนโดยน้ำหนักของเหล็กต่อนิกเกิลเป็น
21 : 5 = 21 x 4 : 5 x 4 = 84 : 20
อัตราส่วนโดยน้ำหนักของนิกเกิลต่อทองแดงเป็น
4 : 3 = 4 x 5 : 3 x 5 = 20 : 15
ดังนั้น อัตราส่วนโดยน้ำหนักของเหล็กต่อนิกเกิลต่อทองแดงเป็น 84 : 20 : 15
ซึ่งจะได้โลหะเจือมีน้ำหนักเป็น 84 + 20 + 15 = 119 ส่วน
และอัตราส่วนโดยน้ำหนักของเหล็กต่อนิกเกิลต่อทองแดงต่อโลหะเจือ
เป็น 84 : 20 : 15 : 119
ถ้าต้องการได้โลหะเจือหนัก 2,142 กรัม
จะได้    84 : 20 : 15 : 119
= 84 x 18 : 20 x 18 : 15 x 18 : 119 x 18
= 1,512 : 360 : 270 : 2,142
ดังนั้น จะต้องใช้เหล็ก 1,512 กรัม, นิกเกิล 360 กรัม และทองแดง 270 กรัม
ตอบ เหล็ก 1,512 กรัม, นิกเกิล 360 กรัม และทองแดง 270 กรัม
 
3. บุญศรีทอผ้าฝ้ายยาว 3 เมตร ใช้เวลาทอโดยประมาณ 4 วัน ถ้าบุญศรีรับงานทอผ้าฝ้ายแบบเดียวกันยาว 50 เมตร จะต้องใช้เวลาทอประมาณกี่วัน
วิธีทำ
ให้บุญศรีใช้เวลาทอผ้า m วัน เมื่อทอผ้ายาว 50 ม.
บุญศรีใช้เวลา 4 วัน ทอผ้ายาว 3 ม.
เขียนเป็นสัดส่วนได้ดังนี้
 
จะได้
\(\mathtt{\frac{m}{50}}\)
 
m
 = \(\mathtt{\frac{4}{3}}\)
 
 = \(\mathtt{\frac{4}{3} \times }\)50
 
m
 
 = 66.7
ดังนั้น บุญศรีใช้เวลาทอผ้าประมาณ 67 วัน
ตอบ 67 วัน
 
4. นงนุชหุงข้าวผสมกับลูกเดือยโดยใช้ข้าวสาร 2 กระป๋อง และลูกเดือย ¾ กระป๋อง สำหรับรับประทาน 5 คน ถ้านงนุชต้องการหุงข้าวผสมกับลูกเดือยสำหรับรับประทาน 30 คน จะต้องใช้ข้าวสารและลูกเดือยอย่างละกี่กระป๋อง
วิธีทำ
อัตราส่วนของข้าวสารเป็นกระป๋องต่อลูกเดือยเป็นกระป๋อง
ต่อจำนวนคนรับประทานเป็นคน เป็น 2 : \(\mathtt{\frac{3}{4}}\) : 5
ถ้าต้องการข้าวผสมกับลูกเดือยสำหรับ 30 คน
จะได้    2 : \(\mathtt{\frac{3}{4}}\) : 5
= 2 x 6 : \(\mathtt{\frac{3}{4}}\) x 6 : 5 x 6
= 12 : \(\mathtt{\frac{9}{2}}\) : 30
ดังนั้น จะต้องใช้ข้าวสาร 12 กระป๋อง และลูกเดือย 4\(\mathtt{\frac{1}{2}}\) กระป๋อง
ตอบ ข้าวสาร 12 กระป๋อง และลูกเดือย 4\(\mathtt{\frac{1}{2}}\) กระป๋อง
 
5. โรงงานแห่งหนึ่งมีอัตราส่วนของจำนวนพนักงานชายต่อจำนวนพนักงานหญิง เป็น 5 : 2 ถ้ามีพนักงานทั้งหมด 336 คน จะเป็นพนักงานชายและพนักงานหญิงอย่างละกี่คน
วิธีทำ
อัตราส่วนของจำนวนพนักงานชายต่อจำนวนพนักงานหญิง เป็น 5 : 2
ซึ่งจะมีจำนวนพนักงานทั้งหมดเป็น 5 + 2 = 7 คน
จะได้
อัตราส่วนของจำนวนพนักงานชายต่อจำนวนพนักงานหญิง
ต่อจำนวนพนักงานทั้งหมด เป็น 5 : 2 : 7
ถ้ามีพนักงานทั้งหมด 336 คน
จะได้    5 : 2 : 7
= 5 x 48 : 2 x 48 : 7 x 48
= 240 : 96 : 336
ดังนั้น จะมีพนักงานชาย 240 คน และพนักงานหญิง 96 คน
ตอบ พนักงานชาย 240 คน และพนักงานหญิง 96 คน
 
6. สุดาซื้อมะม่วงมาขายสองครั้ง ครั้งละ 100 กิโลกรัม ครั้งแรกสั่งซื้อโดยตรงจากสวนในราคา 4 กิโลกรัม 70 บาท ครั้งที่สองซื้อจากพ่อค้าคนกลางในราคา 5 กิโลกรัม 95 บาท จงหาว่าสุดาซื้อจากพ่อค้าคนกลางแพงกว่าซื้อโดยตรงจากสวนกี่บาท
วิธีทำ
ให้สุดาซื้อมะม่วงจากสวนเป็นเงิน a บ. เมื่อซื้อมะม่วง 100 กก.
โดยสวนขายในราคา 70 บ. เมื่อซื้อมะม่วง 4 กก.
เขียนเป็นสัดส่วนได้ดังนี้
 
จะได้
\(\mathtt{\frac{a}{100}}\)
 
a
 = \(\mathtt{\frac{70}{4}}\)
 
 = \(\mathtt{\frac{70}{4} \times }\)100
 
a
 
 = 1,750
นั่นคือ สุดาซื้อมะม่วงจากสวน 100 กก. ในราคา 1,750 บ.
 
ให้สุดาซื้อมะม่วงจากพ่อค้าคนกลาง b บ. เมื่อซื้อมะม่วง 100 กก.
โดยพ่อค้าคนกลางขายในราคา 95 บ. เมื่อซื้อมะม่วง 5 กก.
เขียนเป็นสัดส่วนได้ดังนี้
 
จะได้
\(\mathtt{\frac{b}{100}}\)
 
b
 = \(\mathtt{\frac{95}{5}}\)
 
 = \(\mathtt{\frac{95}{5} \times }\)100
 
b
 
 = 1,900
นั่นคือ สุดาซื้อมะม่วงจากพ่อค้าคนกลาง 100 กก. ในราคา 1,900 บ.
ดังนั้น สุดาซื้อจากพ่อค้าคนกลางแพงกว่า 1,900 – 1,750 = 150 บ.
ตอบ สุดาซื้อจากพ่อค้าคนกลางแพงกว่าซื้อโดยตรงจากสวน 150 บาท
 
7. โรงเรียนก้าวหน้าศึกษา และโรงเรียนคณิตวิทยา รับสมัครนักเรียนเข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พร้อมกันโดยวิธีจับสลาก พบว่า อัตราส่วนของจำนวนนักเรียนที่จับสลากเข้าเรียนได้ต่อจำนวนนักเรียนจับสลากไม่ได้ของโรงเรียนก้าวหน้าศึกษา เป็น 5 : 12 และของโรงเรียนคณิตวิทยา เป็น 3 : 8 ถ้าจำนวนนักเรียนที่จับสลากได้ของทั้งสองโรงเรียน เป็น 210 คน เท่ากัน จงหาว่าแต่ละโรงเรียนมีนักเรียนมาสมัครกี่คน
วิธีทำ
รร. ก้าวหน้าศึกษามีนักเรียนที่จับสลากได้ 210 คน
ให้มีนักเรียนที่จับสลากไม่ได้ a คน
อัตราส่วนของจำนวนนักเรียนที่จับสลากเข้าเรียนได้
ต่อจำนวนนักเรียนจับสลากไม่ได้ของ รร.ก้าวหน้าศึกษา เป็น 5 : 12
เขียนเป็นสัดส่วนได้ดังนี้
 
จะได้
\(\mathtt{\frac{a}{210}}\)
 
a
 = \(\mathtt{\frac{12}{5}}\)
 
 = \(\mathtt{\frac{12}{5} \times }\)210
 
a
 
 = 504
นั่นคือ รร.ก้าวหน้าศึกษามีนักเรียนที่จับสลากไม่ได้ 504 คน
ดังนั้น รร.ก้าวหน้าศึกษามีนักเรียนมาสมัครทั้งหมด = 210 + 504 = 714 คน
 
รร.คณิตวิทยามีนักเรียนที่จับสลากได้ 210 คน
ให้มีนักเรียนที่จับสลากไม่ได้ b คน
อัตราส่วนของจำนวนนักเรียนที่จับสลากเข้าเรียนได้
ต่อจำนวนนักเรียนจับสลากไม่ได้ของ รร.คณิตวิทยา เป็น 3 : 8
เขียนเป็นสัดส่วนได้ดังนี้
 
จะได้
\(\mathtt{\frac{b}{210}}\)
 
b
 = \(\mathtt{\frac{8}{3}}\)
 
 = \(\mathtt{\frac{8}{3} \times }\)210
 
b
 
 = 560
นั่นคือ รร.คณิตวิทยามีนักเรียนที่จับสลากไม่ได้ 560 คน
ดังนั้น รร.คณิตวิทยามีนักเรียนมาสมัครทั้งหมด = 210 + 560 = 770 คน
ตอบ โรงเรียนก้าวหน้าศึกษามีนักเรียนมาสมัคร 714 คน และโรงเรียนคณิตวิทยามีนักเรียนมาสมัคร 770 คน
 
8. จันทร์เพ็ญผสมปุ๋ยชีวภาพเพื่อใช้เองและแจกเพื่อนบ้าน โดยใช้ใบไม้และเศษผักต่าง ๆ มาหมักกับกากน้ำตาลแดงและน้ำตาลทรายแดงในถังพลาสติก ด้วยอัตราส่วนของใบไม้และเศษผักต่อกากน้ำตาลแดงต่อน้ำตาลทรายแดงโดยน้ำหนัก เป็น 3 : \(\mathtt{\frac{3}{5}}\) : \(\mathtt{\frac{2}{5}}\) ถ้าจันทร์เพ็ญมีใบไม้และเศษผัก 15 กิโลกรัม จงหา่วาจันทร์เพ็ญต้องใช้กากน้ำตาลแดงและน้ำตาลทรายแดงอย่างละกี่กิโลกรัม
วิธีทำ
อัตราส่วนของใบไม้และเศษผักต่อกากน้ำตาลแดงต่อน้ำตาลทรายแดง
โดยน้ำหนัก เป็น 3 : \(\mathtt{\frac{3}{5}}\) : \(\mathtt{\frac{2}{5}}\)
ถ้าจันทร์เพ็ญมีใบไม้และเศษผัก 15 กก.
จะได้    3 : \(\mathtt{\frac{3}{5}}\) : \(\mathtt{\frac{2}{5}}\)
= 3 x 5 : \(\mathtt{\frac{3}{5}}\) x 5 : \(\mathtt{\frac{2}{5}}\) x 5
= 15 : 3 : 2
ดังนั้น จันทร์เพ็ญต้องใช้กากน้ำตาลแดง 3 กก. และน้ำตาลทรายแดง 2 กก.
ตอบ กากน้ำตาลแดง 3 กิโลกรัม และน้ำตาลทรายแดง 2 กิโลกรัม
 
9. ดาวและเพื่อนเกี่ยวข้าวได้วันละเท่า ๆ กัน ถ้าดาวและเพื่อนอีก 3 คนช่วยกันเกี่ยวข้าวแปลงหนึ่งจะเสร็จภายในเวลา 5 วัน แต่ถ้าดาวต้องการให้เกี่ยวข้าวเสร็จภายใน 2 วัน ดาวจะต้องชวนเพื่อนมาช่วยเกี่ยวข้าวกี่คน
วิธีคิด
เมื่อต้องการให้ใช้เวลาเกี่ยวข้าวน้อยลง จะต้องใช้คนมากขึ้น
อัตราส่วนระหว่างเวลาที่ใช้เกี่ยวข้าวต่อจำนวนคนจึงเป็นสัดส่วนผกผัน
วิธีทำ
ให้ต้องใช้คนเกี่ยวข้าว m คน ให้เสร็จภายในเวลา 2 วัน
เมื่อดาวและเพื่อนอีก 3 คน รวมเป็น 4 คน ใช้เวลา 5 วัน
เขียนเป็นสัดส่วนได้ดังนี้
 
จะได้
\(\mathtt{\frac{m}{4}}\)
 
m
 = \(\mathtt{\frac{5}{2}}\)
 
 = \(\mathtt{\frac{5}{2} \times }\)4
 
m
 
 = 10
นั่นคือ จะต้องใช้คนเกี่ยวข้าวทั้งหมด 10 คน
ดังนั้น ดาวจะต้องชวนเพื่อนมาช่วยอีก 10 – 1 = 9 คน
ตอบ ดาวจะต้องชวนเพื่อนมาช่วยเกี่ยวข้าว 9 คน
 
10. เมื่อคนงานทุกคนทำงานได้วันละเท่า ๆ กัน ผู้รับเหมาจ้างคนงาน 10 คน มาปูกระเบื้องบ้านหลังหนึ่งเสร็จภายใน 7 วัน ถ้าผู้รับเหมาจ้างคนงาน 14 คน มาปูกระเบื้องบ้านหลังนี้ จะปูกระเบื้องเสร็จภายในกี่วัน
วิธีคิด
เมื่อมีคนงานมากขึ้น จะใช้เวลาปูกระเบื้องน้อยลง
อัตราส่วนระหว่างจำนวนคนงานต่อเวลาที่ใช้ปูกระเบื้องจึงเป็นสัดส่วนผกผัน
วิธีทำ
ให้ใช้เวลาปูกระเบื้อง m วัน เมื่อมีคนงาน 14 คน
ซึ่งจะใช้เวลาปูกระเบื้อง 7 วัน เมื่อมีคนงาน 10 คน
เขียนเป็นสัดส่วนได้ดังนี้
 
จะได้
\(\mathtt{\frac{m}{7}}\)
 
m
 = \(\mathtt{\frac{10}{14}}\)
 
 = \(\mathtt{\frac{10}{14} \times }\)7
 
m
 
 = 5
ดังนั้น จะปูกระเบื้องเสร็จภายใน 5 วัน
ตอบ 5 วัน
 
11. วรรณาเป็นข้าราชการ ในปีภาษี 2560 เขามีเงินได้สุทธิ 672,000 บาท ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 50,000 บาท อยากทราบว่าวรรณาจะต้องชำระภาษีเพิ่มเติมหรือขอคืนเงินภาษีที่ชำระไว้เกินเท่าไร
 
ตารางคำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิ สำหรับปีภาษี 2560 เป็นต้นไป
เงินได้สุทธิ ช่วงเงินได้สุทธิ
แต่ละขั้น
อัตราภาษี
ร้อยละ
ภาษีแต่ละขั้น
เงินได้สุทธิ
ภาษีสะสม
สูงสุดของชั้น
1 – 150,000 150,000 5 ยกเว้น
150,001 – 300,000 150,000 5 7,500 7,500
300,001 – 500,000 200,000 10 20,000 27,500
500,001 – 750,000 250,000 15 37,500 65,000
750,001 – 1,000,000 250,000 20 50,000 115,000
1,000,000 – 2,000,000 1,000,000 25 250,000 365,000
2,000,000 – 5,000,000 3,000,000 30 900,000 1,265,000
5,000,001 บาทขึ้นไป 35

หมายเหตุ *ยกเว้นตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 470) พ.ศ.2551 สำหรับเงินได้สุทธิที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 เป็นต้นไป ประกอบกับมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 44) พ.ศ.2560 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปีภาษี พ.ศ.2560 เป็นต้นไป

วิธีทำ
วรรณามีเงินได้สุทธิ 672,000 บ.
จากตารางเงินได้สุทธิ 1 – 500,000 บ. ต้องเสียภาษี 27,500 บ.
เหลือเงินได้สุทธิที่ต้องเสียภาษีอีก 672,000 – 500,000 = 172,000 บ.
ซึ่งอยู่ในช่วงเงินได้สุทธิ 500,001 – 750,000 บ.
จะต้องเสียภาษีในอัตรา 15% เป็นเงิน \(\mathtt{\frac{15}{100}}\) x 172,000 = 25,800 บ.
วรรณาต้องเสียภาษีรวมทั้งสิ้น 27,500 + 25,800 = 53,300 บ.
วรรณาถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 50,000 บ.
ดังนั้น วรรณาต้องจ่ายภาษีเพิ่ม 53,300 – 50,000 = 3,300 บ.
ตอบ วรรณาจะต้องชำระภาษีเพิ่มเติมจำนวน 3,300 บาท
 
12. กฤษดาเป็นผู้จัดการบริษัทแห่งหนึ่ง ในปีภาษี 2560 เขามีเงินได้สุทธิ 1,825,320 บาท ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 337,596 บาท อยากทราบว่ากฤษดาจะต้องชำระภาษีเพิ่มเติมหรือขอคืนเงินภาษีที่ชำระไว้เกินเท่าไร
วิธีทำ
กฤษดามีเงินได้สุทธิ 1,825,320 บาท
จากตารางเงินได้สุทธิ 1 – 1,000,000 บ. ต้องเสียภาษี 115,000 บ.
เหลือเงินได้สุทธิที่ต้องเสียภาษีอีก 1,825,320 – 1,000,000 = 825,320 บ.
ซึ่งอยู่ในช่วงเงินได้สุทธิ 1,000,001 – 2,000,000 บ.
จะต้องเสียภาษีในอัตรา 25% เป็นเงิน \(\mathtt{\frac{25}{100}}\) x 825,320 = 206,330 บ.
กฤษดาต้องเสียภาษีรวมทั้งสิ้น 115,000 + 206,330 = 321,330 บ.
กฤษดาถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 337,596 บ.
ดังนั้น กฤษดาจะต้องขอคืนเงินภาษีที่ชำระไว้เกิน 337,596 – 321,330 = 16,266 บ.
ตอบ กฤษดาจะต้องขอคืนเงินภาษีที่ชำระไว้เกิน 16,266 บาท
 
13. แผนผังบ้านชั้นเดียวหลังหนึ่งเป็นดังรูป ถ้าราคาก่อสร้างบ้านเฉลี่ยตารางเมตรละ 10,000 บาท จงหาค่าก่อสร้างบ้านหลังนี้
อัตราส่วน สัดส่วน ร้อยละ
มาตราส่วน 1 ซม. : 2 ม.
 
วิธีทำ
 
แบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วน และเนื่องจากแผนผังมีมาตราส่วน 1 ซม. : 2 ม.
ความยาวจริงของแต่ละด้านจะเป็นดังรูป
อัตราส่วน
พื้นที่ส่วนที่ 1 = 2.1 x 5.9 = 12.39 ตร.ม.
พื้นที่ส่วนที่ 2 = (12 – 2.1 – 2) x (3.8 + 10.2) = 7.9 x 14 = 110.6 ตร.ม.
พื้นที่ส่วนที่ 3 = 2 x 10.2 = 20.4 ตร.ม.
พื้นที่ก่อสร้างบ้าน
= พื้นที่ส่วนที่ 1 + พื้นที่ส่วนที่ 2 + พื้นที่ส่วนที่ 3
= 12.39 + 110.6 + 20.4
= 143.39 ตร.ม.
ราคาก่อสร้างบ้านเฉลี่ยตารางเมตรละ 10,000 บาท
ดังนั้น ค่าก่อสร้างบ้าน
= 143.39 x 10,000
= 1,433,900 บาท
ตอบ 1,433,900 บาท
 
14. น้ำอิงจะเดินทางไปท่องเที่ยวที่ประเทศสหรัฐอเมริกา จึงไปแลกเงินที่ธนาคารแห่งหนึ่ง อัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สหรัฐกับเงินบาทในวันนั้นเป็น 35.25 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ และธนาคารมีเฉพาะธนบัตรฉบับละ 100 ดอลลาร์ ไว้ให้แลกเท่านั้น ถ้าน้ำอิงมีเงิน 40,000 บาท สามารถแลกเป็นธนบัตรฉบับละ 100 ดอลลาร์ ได้มากที่สุดกี่ฉบับ และเหลือเงินอีกกี่บาท
วิธีทำ
ให้เงินบาทจำนวน 40,000 บ. แลกเงินดอลลาร์สหรัฐได้ m ดอลลาร์
เมื่อเงินบาท 35.25 บ. แลกเงินดอลลาร์สหรัฐได้ 1 ดอลลาร์
เขียนเป็นสัดส่วนได้ดังนี้
 
จะได้
\(\mathtt{\frac{m}{40,000}}\)
 
m
 = \(\mathtt{\frac{1}{35.25}}\)
 
 = \(\mathtt{\frac{1}{35.25} \times }\)40,000
 
m
 
 = 1134.75
 
นั่นคือ น้ำอิงจะแลกเงินดอลลาร์สหรัฐได้ 1134.75 ดอลลาร์
เนื่องจากธนาคารมีเฉพาะธนบัตรฉบับละ 100 ดอลลาร์ไว้ให้แลกเท่านั้น
จึงแลกเงินดอลลาร์สหรัฐได้จำนวน 1134.75 \(\mathtt{\div}\) 100 = 11.3475 หรือ 11 ฉบับ
คิดเป็นเงินไทย 35.25 x 11 x 100 = 38,775 บ.
และน้ำอิงจะเหลือเงิน 40,000 – 38,775 = 1,225 บ.
ตอบ น้ำอิงแลกได้มากที่สุด 11 ฉบับ และเหลือเงิน 1,225 บาท
 
15. อัตราแลกเปลี่ยนเงินวอนเกาหลีกับเงินบาทไทย ในวันที่ 5 กันยายน 2560 เป็น 3.34 บาท ต่อ 100 วอน ถ้าต้องการแลกให้ได้เงิน 65,000 วอน จะต้องใช้เงินไทยทั้งหมดกี่บาท
วิธีทำ
ให้ต้องใช้เงินไทย m บ. เพื่อแลกเงินเกาหลี 65,000 วอน
เมื่อต้องใช้เงินไทย 3.34 บ. เพื่อแลกเงินเกาหลี 100 วอน
เขียนเป็นสัดส่วนได้ดังนี้
 
จะได้
\(\mathtt{\frac{m}{3.34}}\)
 
m
 = \(\mathtt{\frac{65,000}{100}}\)
 
 = \(\mathtt{\frac{65,000}{100} \times }\)3.34
 
m
 
 = 2,171
ดังนั้น ต้องใช้เงินไทยทั้งหมด 2,171 บาท
ตอบ 2,171 บาท