1. ดินแดนแถบอะแลสกาและไซบีเรียนเป็นเขตที่มีอากาศหนาวมากจนน้ำแข็งปกคลุมพื้นดินตลอดปี บางครั้งอุณหภูมิลดต่ำลงถึง -50°F ทำให้สัตว์ที่อาศัยอยู่ เช่น กวางคาลิบู และกวางเรนเดียร์ ต้องย้ายถิ่น จงหาว่าที่อุณหภูมิดังกล่าวถ้าวัดเป็นองศาเซลเซียสจะได้เท่าไร
วิธีทำ
จากสูตร
\(\mathtt{\frac{C}{5} = \frac{F \, – \, 32}{9}}\)
 
จะได้
 
\(\mathtt{\frac{C}{5} = \frac{-50 \, – \, 32}{9}}\)
 
\(\mathtt{C = \frac{-50 \, – \, 32}{9} \times 5}\)
 
\(\mathtt{C = \frac{-82}{9} \times 5}\)
 
\(\mathtt{C = \frac{-410}{9}}\)
 
\(\mathtt{C = -45.6}\)
ตอบ -45.6 องศาเซลเซียส
 
2. ปะการังเจริญเติบโตได้ดีในน้ำที่ใสและอุ่น จึงมักพบปะการังเฉพาะในทะเลเขตร้อน อุณหภูมิของน้ำจึงเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าหากอุณหภูมิต่ำกว่า 68°F จะยับยั้งการเจริญเติบโตของปะการัง จงหาว่าอุณหภูมิดังกล่าวถ้าวัดเป็นองศาเซลเซียสจะได้เท่าไร
วิธีทำ
จากสูตร
\(\mathtt{\frac{C}{5} = \frac{F \, – \, 32}{9}}\)
 
จะได้
 
\(\mathtt{\frac{C}{5} = \frac{68 \, – \, 32}{9}}\)
 
\(\mathtt{C = \frac{36}{9} \times 5}\)
 
\(\mathtt{C = 4 \times 5}\)
 
\(\mathtt{C = 20}\)
ตอบ 20 องศาเซลเซียส
 
3. ถ้าขยายส่วนของเส้นตรงที่ยาว 8 เซนติเมตร ให้มีความยาวเป็น 12 เซนติเมตร จงหาว่าความยาวของส่วนของเส้นตรงที่ได้คิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของความยาวของส่วนของเส้นตรงต้นแบบ
วิธีทำ
ความยาวของส่วนของเส้นตรงที่ได้คิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของต้นแบบหมายความว่า
ความยาวของส่วนของเส้นตรงที่ได้คิดเป็นกี่ส่วน ถ้าต้นแบบยาว 100 ส่วน
ให้ส่วนของเส้นตรงที่ได้ยาว m ส่วน ถ้าต้นแบบยาว 100 ส่วน
ส่วนของเส้นตรงที่ได้ยาว 12 ซม. เมื่อต้นแบบยาว 8 ซม.
เขียนเป็นสัดส่วนได้ดังนี้
 
จะได้
\(\mathtt{\frac{m}{100}}\)
 
m
 = \(\mathtt{\frac{12}{8}}\)
 
 = \(\mathtt{\frac{12}{8} \times }\)100
 
m
 
m
 
 = 1.5 x 100
 
 = 150
ดังนั้น ความยาวของส่วนของเส้นตรงที่ได้คิดเป็น 150% ของความยาวของส่วนของเส้นตรงต้นแบบ
ตอบ 150%
 
4. ถ้ารูปย่อ 60% ของส่วนของเส้นตรงเส้นหนึ่งมีความยาว 24 เซนติเมตร จงหาความยาวของส่วนของเส้นตรงต้นแบบ
วิธีทำ
รูปย่อ 60% หมายความว่า
ถ้ารูปต้นแบบยาว 100 ส่วน รูปย่อจะยาว 60 ส่วน
แล้วรูปต้นแบบจะยาวกี่ส่วน ถ้ารูปย่อยาว 24 ส่วน
ให้รูปต้นแบบยาว m ส่วน ถ้ารูปย่อยาว 24 ส่วน
เขียนเป็นสัดส่วนได้ดังนี้
 
จะได้
\(\mathtt{\frac{m}{24}}\)
 
m
 = \(\mathtt{\frac{100}{60}}\)
 
 = \(\mathtt{\frac{100}{60} \times }\)24
 
m
 
 = 40
ดังนั้น ความยาวของส่วนของเส้นตรงต้นแบบเท่ากับ 40 ซม.
ตอบ 40 เซนติเมตร
 
5. ถ้าขยายรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีความยาว 12 เซนติเมตร และความกว้าง 8 เซนติเมตร เป็นรูปขยาย 125% รูปขยายที่ได้มีพื้นที่เท่าไร และคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ของรูปต้นแบบ
วิธีทำ
รูปขยาย 125% ของรูปต้นแบบ
นั่นคือ ความยาวของรูปขยายเท่ากับ 125% ของ 12 ซม.
โดยที่ 125% ของ 12 เท่ากับ \(\mathtt{\frac{125}{100}}\) x 12 = 15
จะได้ ความยาวของรูปขยายเท่ากับ 15 ซม.
 
และ ความกว้างของรูปขยายเท่ากับ 125% ของ 8 ซม.
โดยที่ 125% ของ 8 = \(\mathtt{\frac{125}{100}}\) x 8 = 10
จะได้ ความกว้างของรูปขยายเท่ากับ 10 ซม.
 
ดังนั้น รูปขยายจะมีพื้นที่เท่ากับ 10 x 15 = 150 ตร.ซม.
และ รูปต้นแบบมีพื้นที่เท่ากับ 8 x 12 = 96 ตร.ซม.
 
พื้นที่ของรูปขยายคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ของรูปต้นแบบ หมายความว่า
พื้นที่ของรูปขยายคิดเป็นกี่ส่วน ถ้าพื้นที่ของรูปต้นแบบมี 100 ส่วน
ให้พื้นที่ของรูปขยายคิดเป็น m ส่วน ถ้าพื้นที่ของรูปต้นแบบมี 100 ส่วน
พื้นที่ของรูปขยายเท่ากับ 150 ส่วน เมื่อพื้นที่ของรูปต้นแบบเป็น 96 ส่วน
เขียนเป็นสัดส่วนได้ดังนี้
 
จะได้
\(\mathtt{\frac{m}{100}}\)
 
m
 = \(\mathtt{\frac{150}{96}}\)
 
 = \(\mathtt{\frac{150}{96} \times }\)100
 
m
 
 = 156.25
ดังนั้น พื้นที่ของรูปขยายคิดเป็น 156.25% ของพื้นที่ของรูปต้นแบบ
ตอบ รูปขยาย 125% ของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีพื้นที่ 150 ตารางเซนติเมตร และคิดเป็น 156.25% ของพื้นที่ของรูปต้นแบบ
 
6. ถ้าย่อรูปหกเหลี่ยมด้านเท่ามุมเท่าที่มีความยาวรอบรูป 90 เซนติเมตร เป็นรูปย่อ 70%
จงหาอัตราส่วนของความยาวรอบรูปของรูปย่อต่อความยาวรอบรูปของรูปต้นแบบ
วิธีทำ
ความยาวรอบรูปของรูปย่อ 70% เท่ากับ 70% ของ 90 ซม.
โดยที่ 70% ของ 90 ซม. = \(\mathtt{\frac{70}{100}}\) x 90 = 63 ซม.
จะได้ว่า รูปย่อมีความยาวรอบรูปเท่ากับ 63 ซม.
ดังนั้น อัตราส่วนของความยาวรอบรูปของรูปย่อต่อความยาวรอบรูปของรูปต้นแบบ เป็น 63 : 90 หรือ 7 : 10
ตอบ อัตราส่วนของความยาวรอบรูปของรูปย่อต่อความยาวรอบรูปของรูปต้นแบบ
เป็น 7 : 10
 
7. ณเดชเป็นพนักงานบริษัทแห่งหนึ่ง ในปีภาษี 2560 เขามีเงินได้สุทธิ 188,120 บาท เขาจะต้องชำระภาษีเงินได้เท่าไร
 
ตารางคำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิ สำหรับปีภาษี 2560 เป็นต้นไป
เงินได้สุทธิ ช่วงเงินได้สุทธิ
แต่ละขั้น
อัตราภาษี
ร้อยละ
ภาษีแต่ละขั้น
เงินได้สุทธิ
ภาษีสะสม
สูงสุดของชั้น
1 – 150,000 150,000 5 ยกเว้น
150,001 – 300,000 150,000 5 7,500 7,500
300,001 – 500,000 200,000 10 20,000 27,500
500,001 – 750,000 250,000 15 37,500 65,000
750,001 – 1,000,000 250,000 20 50,000 115,000
1,000,000 – 2,000,000 1,000,000 25 250,000 365,000
2,000,000 – 5,000,000 3,000,000 30 900,000 1,265,000
5,000,001 บาทขึ้นไป 35

หมายเหตุ *ยกเว้นตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 470) พ.ศ.2551 สำหรับเงินได้สุทธิที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 เป็นต้นไป ประกอบกับมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 44) พ.ศ.2560 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปีภาษี พ.ศ.2560 เป็นต้นไป

วิธีทำ
ณเดชมีเงินได้สุทธิ 188,120 บาท
จากตารางเงินได้สุทธิ 1 – 150,000 บาท ได้รับการยกเว้นภาษี
เหลือเงินได้สุทธิที่ต้องเสียภาษีอีก 188,120 – 150,000 = 38,120 บาท
ซึ่งอยู่ในช่วงเงินได้สุทธิ 150,001 – 300,000 บาท
จะต้องเสียภาษีในอัตรา 5% เป็นเงิน \(\mathtt{\frac{5}{100}}\) x 38,120 = 1,906 บาท
ดังนั้น ณเดชต้องชำระภาษีเงินได้จำนวน 1,906 บาท
ตอบ 1,906 บาท
 
8. นาวินเป็นข้าราชการ ในปีภาษี 2560 เขามีเงินได้สุทธิ 316,720 บาท ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 6,435 บาท อยากทราบว่านาวินต้องชำระภาษีเพิ่มเติมหรือขอคืนเงินภาษีที่ชำระไว้เกินเท่าไร
วิธีทำ
นาวินมีเงินได้สุทธิ 316,720 บาท
จากตารางเงินได้สุทธิ 1 – 300,000 บาท ต้องเสียภาษี 7,500 บาท
เหลือเงินได้สุทธิที่ต้องเสียภาษีอีก 316,720 – 300,000 = 16,720 บาท
ซึ่งอยู่ในช่วงเงินได้สุทธิ 300,001 – 500,000 บาท
จะต้องเสียภาษีในอัตรา 10% เป็นเงิน \(\mathtt{\frac{10}{100}}\) x 16,720 = 1,672 บาท
 
นั่นคือ นาวินต้องเสียภาษีรวมทั้งสิ้น 7,500 + 1,672 = 9,172 บาท
นาวินถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 6,435 บาท
ดังนั้น นาวินต้องชำระภาษีเพิ่มเติม 9,172 – 6,435 = 2,737 บาท
ตอบ นาวินต้องชำระภาษีเพิ่มเติมเป็นเงิน 2,737 บาท