1. ในร่างกายของคนเราจะมีน้ำอยู่ประมาณ 70% ของน้ำหนักตัว ถ้าวรรณีหนัก 48 กิโลกรัม วรรณีมีส่วนที่ไม่เป็นน้ำอยู่ในร่างกายประมาณกี่กิโลกรัม
วิธีทำ
ให้วรรณีมีส่วนที่ไม่เป็นน้ำอยู่ในร่างกาย m กก.
ร่างกายมีน้ำอยู่ประมาณ 70% ของน้ำหนักตัว
นั่นคือ จะมีส่วนที่ไม่เป็นน้ำเท่ากับ 100 – 70 = 30% ของนัำหนักตัว
ส่วนที่ไม่เป็นน้ำในร่างกาย 30% ของน้ำหนักตัว หมายความว่า
น้ำหนักตัว 100 กก. มีส่วนที่ไม่เป็นน้ำ 30 กก.
วรรณีหนัก 48 กก. มีส่วนที่ไม่เป็นน้ำ m กก.
เขียนเป็นสัดส่วนได้ดังนี้
จะได้
\(\mathtt{\frac{m}{48}}\)
m
 = \(\mathtt{\frac{30}{100}}\)
 = \(\mathtt{\frac{30}{100} \times }\)48
m
 = 14.4
ดังนั้น วรรณีมีส่วนที่ไม่เป็นน้ำอยู่ในร่างกายประมาณ 14.4 กก.
ตอบ 14.4 กิโลกรัม
 
2. ร้านเรืองชัยการไฟฟ้าตั้งราคาเครื่องรับโทรทัศน์ไว้ 25,300 บาท โดยยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ส่วนร้านยิ่งเจริญตั้งราคาเครื่องรับโทรทัศน์ชนิดเดียวกันกับร้านแรกไว้เป็นเงิน 27,000 บาท โดยรวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว นักเรียนควรจะซื้อเครื่องรับโทรทัศน์จากร้านไหนจึงจะได้ราคาถูกกว่า
วิธีทำ
ให้ราคาเครื่องรับโทรทัศน์ที่รวมภาษีแล้วของร้านเรืองชัยการไฟฟ้าเป็น m บาท
ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% หมายความว่า
ราคาสินค้า 100 บาท เมื่อรวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วจะเป็น 100 + 7 = 107 บาท
ราคาเครื่องรับโทรทัศน์ 25,300 บาท เมื่อรวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วจะเป็น m บาท
เขียนเป็นสัดส่วนได้ดังนี้
 
จะได้
\(\mathtt{\frac{m}{25300}}\)
 
m
 = \(\mathtt{\frac{107}{100}}\)
 
 = \(\mathtt{\frac{107}{100} \times }\)25,300
 
m
 
 = 27,071
นั่นคือ ราคาเครื่องรับโทรทัศน์ของร้านเรืองชัยการไฟฟ้าเท่ากับ 27,071 บาท
ดังนั้น เราควรซื้อเครื่องรับโทรทัศน์จากร้านยิ่งเจริญที่ตั้งราคาไว้ 27,000 บาท
เพราะมีราคาถูกกว่าเครื่องรับโทรทัศน์ของร้านเรืองชัยการไฟฟ้า
ตอบ ร้านยิ่งเจริญ
 
3. แจนซื้อไข่ไก่มา 120 ฟอง ราคา 420 บาท เมื่อกลับมาถึงบ้านพบว่าไข่แตกไปร้อยละ 2.5 ถ้าขายไข่ที่เหลือไปทั้งหมดฟองละ 4.50 บาท แจนจะได้กำไรหรือขาดทุนร้อยละเท่าใด
วิธีทำ
ให้แจนมีไข่แตก m ฟอง
ไข่แตกไปร้อยละ 2.5 หมายความว่า
ไข่ 100 ฟอง แตกไป 2.5 ฟอง
แจนซื้อไข่มา 120 ฟอง แตกไป m ฟอง
เขียนเป็นสัดส่วนได้ดังนี้
 
จะได้
\(\mathtt{\frac{m}{120}}\)
 
m
 = \(\mathtt{\frac{2.5}{100}}\)
 
 = \(\mathtt{\frac{2.5}{100} \times }\)120
 
m
 
 = 3
จะได้ว่า แจนมีไข่แตก 3 ฟอง และจะมีไข่เหลือเท่ากับ 120 – 3 = 117 ฟอง
แจนขายไข่ที่เหลือไปฟองละ 4.50 บ. จะได้เงินเท่ากับ 117 x 4.50 = 526.50 บ.
แจนซื้อไข่มาในราคา 420 บ. จะได้กำไรเท่ากับ 526.50 – 420 = 106.50 บ.
 
แจนจะได้กำไรร้อยละเท่าใด หมายความว่า
ถ้าแจนซื้อไข่มา 100 บาท จะได้กำไรกี่บาท
ให้แจนซื้อไข่มา 100 บาท จะได้กำไร n บาท
เมื่อแจนซื้อไข่มา 420 บาท ได้กำไร 106.50 บาท
เขียนเป็นสัดส่วนได้ดังนี้
 
จะได้
 
 
\(\mathtt{\frac{420}{106.50}}\)
 
420n
 
n
 = \(\mathtt{\frac{100}{n}}\)
 
 = 100 \(\mathtt{\times }\)106.50
 
 = \(\mathtt{\frac{10650}{420}}\)
 
n
 
 = 25.36
 
ดังนั้น แจนได้กำไรร้อยละ 25.36
ตอบ แจนได้กำไรร้อยละ 25.36
 
4. ข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์มี 2 ฉบับ ฉบับแรกมนัสทำได้ 75% ของคะแนนเต็ม 80 คะแนน ฉบับที่สองมนัสทำได้ 70% ของคะแนนเต็ม 120 คะแนน จงหาว่ามนัสทำข้อสอบทั้งสองฉบับได้กี่เปอร์เซ็นต์
วิธีทำ
ให้มนัสทำข้อสอบฉบับแรกได้ a คะแนน
มนัสทำข้อสอบฉบับแรกได้ 75% ของคะแนนเต็ม หมายความว่า
ถ้าข้อสอบฉบับแรกมีคะแนนเต็ม 100 คะแนน มนัสทำได้ 75 คะแนน
ข้อสอบฉบับแรกมีคะแนนเต็ม 80 คะแนน มนัสทำได้ a คะแนน
เขียนเป็นสัดส่วนได้ดังนี้
 
จะได้
\(\mathtt{\frac{a}{80}}\)
 
a
 = \(\mathtt{\frac{75}{100}}\)
 
 = \(\mathtt{\frac{75}{100} \times }\)80
 
a
 
 = 60
นั่นคือ มนัสทำข้อสอบฉบับแรกได้ 60 คะแนน
 
ให้มนัสทำข้อสอบฉบับที่สองได้ b คะแนน
มนัสทำข้อสอบฉบับที่สองได้ 70% ของคะแนนเต็ม หมายความว่า
ถ้าข้อสอบฉบับที่สองมีคะแนนเต็ม 100 คะแนน มนัสทำได้ 70 คะแนน
ข้อสอบฉบับที่สองมีคะแนนเต็ม 120 คะแนน มนัสทำได้ b คะแนน
เขียนเป็นสัดส่วนได้ดังนี้
 
จะได้
\(\mathtt{\frac{b}{120}}\)
 
b
 = \(\mathtt{\frac{70}{100}}\)
 
 = \(\mathtt{\frac{70}{100} \times }\)120
 
b
 
 = 84
นั่นคือ มนัสทำข้อสอบฉบับที่สองได้ 84 คะแนน
 
จะได้ว่ามนัสทำข้อสอบทั้งสองฉบับได้ 60 + 84 = 144 คะแนน
โดยข้อสอบทั้งสองฉบับมีคะแนนเต็มเท่ากับ 80 + 120 = 200 คะแนน
ให้มนัสทำข้อสอบทั้งสองฉบับได้ c% หมายความว่า
มนัสทำข้อสอบทั้งสองฉบับได้ c คะแนน ถ้าคะแนนเต็ม 100 คะแนน
และมนัสทำข้อสอบทั้งสองฉบับได้ 144 คะแนน จากคะแนนเต็ม 200 คะแนน
เขียนเป็นสัดส่วนได้ดังนี้
 
จะได้
\(\mathtt{\frac{c}{100}}\)
 
c
 = \(\mathtt{\frac{144}{200}}\)
 
 = \(\mathtt{\frac{144}{200} \times }\)100
 
c
 
 = 72
ดังนั้น มนัสทำข้อสอบทั้งสองฉบับได้ 72%
ตอบ 72 เปอร์เซ็นต์
 
5. แม่กับนัทไปเติมน้ำมันที่ปั๊มน้ำมันแห่งหนึ่ง แม่เติมน้ำมันไป 1,000 บาท ซึ่งเป็นราคาที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% แล้วแม่จึงให้นัทลองคิดว่าเงิน 1,000 บาท ที่จ่ายไปนั้นคิดเป็นค่าน้ำมันและภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างละกี่บาท
วิธีทำ
ให้แม่จ่ายเงินเป็นค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม m บ. จากเงินที่จ่ายไปทั้งหมด 1,000 บ.
ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% หมายความว่า
จ่ายเงินเป็นค่าภาษี 7 บ. เมื่อจ่ายเงินค่าสินค้าไปทั้งหมด 107 บ.
เขียนเป็นสัดส่วนได้ดังนี้
 
จะได้
\(\mathtt{\frac{m}{1000}}\)
 
m
 = \(\mathtt{\frac{7}{107}}\)
 
 = \(\mathtt{\frac{7}{107} \times }\)1,000
 
m
 
 = 65.42
ดังนั้น เงิน 1,000 บาทที่จ่ายไปคิดเป็นค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม 65.42 บ.
และเป็นค่าน้ำมันเท่ากับ 1,000 – 65.42 = 934.58 บ.
ตอบ ค่าน้ำมัน 934.58 บาท และค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม 65.42 บาท
 
6. โกสินทร์ทำงานและมีบ้านพักอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ เขาต้องการไปเยี่ยมแม่ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยขับรถไปเองด้วยอัตราเร็วเฉลี่ย 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ระยะทางจากกรุงเทพฯ ถึงนครศรีธรรมราชประมาณ 780 กิโลเมตร โกสินทร์คิดคำนวณเวลาที่ต้องพักระหว่างการเดินทางไว้ 20% ของเวลาในการขับรถทั้งหมด โกสินทร์จะต้องใช้เวลาในการเดินทางและพักทั้งสิ้นกี่ชั่วโมง กี่นาที
วิธีทำ
โกสินทร์ขับรถด้วยความเร็ว 90 กม./ชม. หมายความว่า
ระยะทาง 90 กม. ใช้เวลาขับรถ 1 ชม.
ให้โกสินทร์ขับรถระยะทาง 780 กม. ใช้เวลา m ชม.
เขียนเป็นสัดส่วนได้ดังนี้
 
จะได้
\(\mathtt{\frac{m}{780}}\)
 
m
 = \(\mathtt{\frac{1}{90}}\)
 
 = \(\mathtt{\frac{1}{90} \times }\)780
 
m
 
 = \(\mathtt{\frac{26}{3}}\)
 
นั่นคือ โกสินทร์ใช้เวลาขับรถ \(\mathtt{\frac{26}{3}}\) ชม.
 
โกสินทร์ใช้เวลาพัก 20% ของเวลาในการขับรถทั้งหมด หมายความว่า
โกสินทร์ใช้เวลาพัก 20 ชม. เมื่อขับรถ 100 ชม.
ให้โกสินทร์ใช้เวลาพัก n ชม. เมื่อขับรถ \(\mathtt{\frac{26}{3}}\) ชม.
เขียนเป็นสัดส่วนได้ดังนี้
\(\mathtt{\dfrac{n}{\frac{26}{3}}}\)
 = \(\mathtt{\frac{20}{100}}\)
 
จะได้                                                        n = \(\mathtt{\frac{20}{100} \times \frac{26}{3}}\)
 
n
 
 = \(\mathtt{\frac{26}{15}}\)
 
นั่นคือ โกสินทร์ใช้เวลาพัก \(\mathtt{\frac{26}{15}}\) ชม.
 
จะได้ว่า โกสินทร์จะใช้เวลาขับรถและพัก = \(\mathtt{\frac{26}{3} + \frac{26}{15}}\)
 
= \(\mathtt{\frac{130 + 26}{15}}\)
 
= \(\mathtt{\frac{156}{15}}\)
 
= \(\mathtt{\frac{52}{5}}\)
 
= 10 \(\mathtt{\frac{2}{5}}\) ชม.
 
หรือเท่ากับ 10 ชม. กับ \(\mathtt{\frac{2}{5}}\) ชม. = 10 ชม. กับ \(\mathtt{\frac{2}{5}} \times \)60 นาที = 10 ชม. กับ 24 นาที
ดังนั้น โกสินทร์จะต้องใช้เวลาในการเดินทางและพักทั้งสิ้น 10 ชม. 24 นาที
ตอบ 10 ชั่วโมง 24 นาที
 
7. โดยทั่วไปในการซื้อสินค้าเงินผ่อน ผู้ซื้อต้องวางเงินดาวน์ไว้ส่วนหนึ่ง ค่าสินค้าที่เหลือผู้ขายจะนำไปคิดดอกเบี้ยเต็มช่วงเวลาผ่อนชำระแล้วนำดอกเบี้ยที่คำนวณได้ไปรวมกับค่าสินค้าที่เหลือ ต่อจากนั้นจึงเฉลี่ยเงินรวมนี้ตามจำนวนงวดที่ต้องผ่อนชำระ เพื่อหาว่าแต่ละงวดผู้ซื้อต้องผ่อนชำระเท่าไร
 
รถจักรยานยนต์คันหนึ่งราคา 45,000 บาท ถ้าต้องการซื้อโดยการผ่อนชำระจะต้องวางเงินดาวน์ 10% ของราคาขาย ที่เหลือผ่อนชำระ 24 เดือน เดือนละเท่าๆ กัน โดยบริษัทคิดอัตราดอกเบี้ย 20% ต่อปี จะต้องผ่อนชำระเดือนละกี่บาท
วิธีทำ
เงินดาวน์ 10% ของราคาขาย หมายความว่า
ต้องจ่ายเงินดาวน์ 10 บาท ถ้าซื้อจักรยานยนต์ราคา 100 บาท
ให้ต้องจ่ายเงินดาวน์ a บาท ถ้าซื้อจักรยานยนต์ราคา 45,000 บาท
เขียนเป็นสัดส่วนได้ดังนี้
 
จะได้
\(\mathtt{\frac{a}{45000}}\)
 
a
 = \(\mathtt{\frac{10}{100}}\)
 
 = \(\mathtt{\frac{10}{100} \times }\)45,000
 
a
 
 = 4,500
นั่นคือ จะต้องจ่ายเงินดาวน์ 4,500 บาท
และจะเหลือค่าสินค้าที่ต้องผ่อนชำระอีก 45,000 – 4,500 = 40,500 บาท
 
อัตราดอกเบี้ย 20% ต่อปี หมายความว่า
ใน 1 ปีจะต้องจ่ายดอกเบี้ย 20 บาท เมื่อผ่อนชำระค่าจักรยานยนต์ 100 บาท
ให้ใน 1 ปีต้องจ่ายดอกเบี้ย b บาท เมื่อผ่อนชำระค่าจักรยานยนต์ 40,500 บาท
เขียนเป็นสัดส่วนได้ดังนี้
 
จะได้
\(\mathtt{\frac{b}{40,500}}\)
 
b
 = \(\mathtt{\frac{20}{100}}\)
 
 = \(\mathtt{\frac{20}{100} \times }\)40,500
 
b
 
 = 8,100
นั่นคือ ใน 1 ปีจะต้องจ่ายดอกเบี้ย 8,100 บาท
ผ่อนชำระ 24 เดือน หรือ 2 ปี จะต้องจ่ายดอกเบี้ย 8,100 x 2 = 16,200 บาท
 
จะได้ยอดเงินที่ต้องผ่อนชำระทั้งหมดเท่ากับ 40,500 + 16,200 = 56,700 บาท
ผ่อนชำระ 24 เดือน เดือนละเท่าๆ กัน
ดังนั้น จะต้องผ่อนชำระเดือนละ 56,700 \(\div\) 24 = 2,362.50 บาท
ตอบ 2,362.50 บาท
 
8. พอใจต้องการซื้อเสื้อกีฬาและไม้แบดมินตัน ซึ่งร้านค้าติดป้ายราคาไว้ 429 บาท และ 899 บาท ดังรูป อยากทราบว่าพอใจจะต้องจ่ายเงินค่าเสื้อกีฬาและไม้แบดมินตันรวมกันประมาณกี่บาท
แบบฝึกหัด 2.3 ค อัตราส่วน
วิธีทำ
เสื้อกีฬามีราคาที่ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มเป็น 429 บาท
ไม้แบดมินตันมีราคาที่ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มเป็น 899 บาท
รวมค่าสินค้าทั้งสองอย่างเป็นเงิน 429 + 899 = 1,328 บาท
 
ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ของราคาสินค้า หมายความว่า
จะต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 บาท เมื่อซื้อสินค้าราคา 100 บาท
ให้ต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม m บาท เมื่อซื้อสินค้าราคา 1,328 บาท
เขียนเป็นสัดส่วนได้ดังนี้
 
จะได้
 
 
\(\mathtt{\frac{m}{1,328}}\)
 
m
 
m
 = \(\mathtt{\frac{7}{100}}\)
 
 = \(\mathtt{\frac{7}{100}} \times \)1,328
 
 = \(\mathtt{\frac{9,296}{100}}\)
 
m
 
 = 92.96
นั่นคือ จะต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม 92.96 บาท
และเมื่อรวมกับค่าสินค้าทั้งสองอย่างจำนวน 1,328 บาท
จะเป็นเงินจำนวน 1,328 + 92.96 = 1,420.96 บาท
ดังนั้น จะต้องจ่ายเงินค่าเสื้อกีฬาและไม้แบดมินตันประมาณ 1,421 บาท
ตอบ ประมาณ 1,421 บาท
 
9. ต้นข้าวเป็นเจ้าของร้านอาหารแห่งหนึ่ง ในขณะที่กำลังพิมพ์ใบแจ้งค่าอาหารให้ลูกค้านั้น มีปัญหาเกดขึ้นกับเครื่องพิมพ์ ทำให้พิมพ์ใบแจ้งค่าอาหารไม่ชัดเจน ดังรูป อยากทราบว่าต้นข้าวจะต้องเก็บค่าอาหารจากลูกค้าเป็นเงินประมาณกี่บาท
 

เกร็ดน่ารู้ : ผู้ให้บริการบางแห่ง เช่น ร้านอาหาร ได้ระบุไว้ชัดเจนว่า ราคาสินค้ายังไม่รวมค่าบริการ (service charge) และภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะเรียกเก็บจากผู้รับบริการโดยคิดค่าบริการ 10% ของราคาสินค้า หลังจากนั้นจะคิดภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ของราคาสินค้าที่รวมกับค่าบริการแล้ว

แบบฝึกหัด 2.3 ค อัตราส่วน
วิธีทำ
ค่าอาหารทั้งหมดเป็นเงิน 95 + 220 + 120 + 70 + 125 + 25 + 50 + 50 = 755 บาท
ค่าบริการ 10% หมายความว่า
ต้องจ่ายค่าบริการ 10 บาท ถ้าค่าอาหารเป็นเงิน 100 บาท
ให้ต้องจ่ายค่าบริการ m บาท ถ้าค่าอาหารเป็นเงิน 755 บาท
เขียนเป็นสัดส่วนได้ดังนี้
 
จะได้
 
 
\(\mathtt{\frac{m}{755}}\)
 
m
 
m
 = \(\mathtt{\frac{10}{100}}\)
 
 = \(\mathtt{\frac{10}{100}} \times \)755
 
 = \(\mathtt{\frac{755}{10}}\)
 
m
 
 = 75.5
นั่นคือ จะต้องจ่ายค่าบริการ 75.50 บาท
จะได้ค่าอาหารรวมกับค่าบริการเป็นเงิน 755 + 75.50 = 830.50 บาท
 
ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ของราคาสินค้าที่รวมกับค่าบริการแล้ว หมายความว่า
จะต้องจ่ายค่าภาษี 7 บาท ถ้าค่าอาหารและค่าบริการเป็นเงิน 100 บาท
ให้ต้องจ่ายค่าภาษี n บาท เมื่อค่าอาหารและค่าบริการเป็นเงิน 830.50 บาท
เขียนเป็นสัดส่วนได้ดังนี้
 
จะได้
 
 
\(\mathtt{\frac{n}{830.50}}\)
 
n
 
n
 = \(\mathtt{\frac{7}{100}}\)
 
 = \(\mathtt{\frac{7}{100}} \times \)830.50
 
 = \(\mathtt{\frac{5813.50}{100}}\)
 
m
 
 = 58.135
นั่นคือ จะต้องจ่ายค่าภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเงินประมาณ 58.14 บาท
เมื่อรวมกับค่าอาหารและค่าบริการแล้วจะเป็นเงิน 830.50 + 58.14 = 888.64 บาท
ดังนั้น ต้นข้าวจะต้องเก็บค่าอาหารจากลูกค้าเป็นเงินประมาณ 889 บาท
ตอบ ประมาณ 889 บาท
 
10. ดาวเป็นผู้โชคดีของร้านค้าแห่งหนึ่งที่ได้ซื้อสินค้าในราคาพิเศษ โดยร้านค้าให้ดาวเลือกซื้อสินค้าชิ้นหนึ่งราคา 10,000 บาท และมีทางเลือกให้ดาว ดังนี้
A : ซื้อสินค้าชิ้นนี้โดยลดราคา 50%
B : ซื้อสินค้าชิ้นนี้โดยครั้งแรกลดราคา 25% แล้วหลังจากนั้นลดราคาอีก 25% จากราคาที่ลดครั้งแรก
ดาวควรเลือกทางเลือก A หรือ B จึงจะซื้อสินค้าชิ้นนี้ในราคาที่ถูกกว่า เพราะเหตุใด
วิธีทำ
ทางเลือก A ลดราคา 50% หมายความว่า
ลดราคาสินค้า 50 บาท ถ้าราคาขายเป็น 100 บาท
ให้ลดราคาสินค้า m บาท เมื่อราคาขายเป็น 10,000 บาท
เขียนเป็นสัดส่วนได้ดังนี้
 
จะได้
\(\mathtt{\frac{m}{10000}}\)
 
m
 = \(\mathtt{\frac{50}{100}}\)
 
 = \(\mathtt{\frac{50}{100} \times }\)10,000
 
m
 
 = 5,000
นั่นคือ ร้านค้าลดราคา 5,000 บาท
จะได้ว่า ทางเลือก A ต้องจ่ายค่าสินค้า 10,000 – 5,000 = 5,000 บาท
 
ทางเลือก B ลดราคาครั้งแรก 25% หมายความว่า
ลดราคาสินค้า 25 บาท ถ้าราคาขายเป็น 100 บาท
ให้ลดราคาสินค้า n บาท เมื่อราคาขายเป็น 10,000 บาท
เขียนเป็นสัดส่วนได้ดังนี้
 
จะได้
\(\mathtt{\frac{n}{10000}}\)
 
n
 = \(\mathtt{\frac{25}{100}}\)
 
 = \(\mathtt{\frac{25}{100} \times }\)10,000
 
n
 
 = 2,500
นั่นคือ ร้านค้าลดราคาครั้งแรกเป็นเงิน 2,500 บาท
จะได้ราคาสินค้าหลังจากลดครั้งแรกเป็น 10,000 – 2,500 = 7,500 บาท
 
จากนั้นลดราคาอีก 25% จากราคาที่ลดครั้งแรก หมายความว่า
ลดราคา 25 บาท ถ้าราคาหลังจากลดครั้งแรกเป็น 100 บาท
ให้ลดราคา a บาท เมื่อราคาหลังจากลดครั้งแรกเป็น 7,500 บาท
เขียนเป็นสัดส่วนได้ดังนี้
 
จะได้
\(\mathtt{\frac{a}{7500}}\)
 
a
 = \(\mathtt{\frac{25}{100}}\)
 
 = \(\mathtt{\frac{25}{100} \times }\)7,500
 
a
 
 = 1,875
นั่นคือ ร้านค้าลดราคาหลังจากลดครั้งแรกเป็นเงิน 1,875 บาท
จะได้ว่า ทางเลือก B จะต้องจ่ายค่าสินค้า 7,500 – 1,875 = 5,625 บาท
 
ดังนั้น ดาวควรเลือกทางเลือก A ที่ต้องจ่ายค่าสินค้า 5,000 บาท จึงจะซื้อสินค้าชิ้นนี้ในราคาที่ถูกกว่า เพราะทางเลือก B ต้องจ่ายค่าสินค้า 5,625 บาท ซึ่งแพงกว่าทางเลือก A
ตอบ ดาวควรเลือกทางเลือก A เพราะต้องจ่ายค่าสินค้าเพียง 5,000 บาท ซึ่งถูกกว่าทางเลือก B ที่ต้องจ่ายค่าสินค้า 5,625 บาท