แบบฝึกหัด 4.6 ก ข้อ 5-11 เศษส่วน
5. พรชัยขับรถออกจากบ้านเวลา 05:00 น. ด้วยอัตราเร็วเฉลี่ยชั่วโมงละ \(\mathsf{80\frac{1}{2}}\) กิโลเมตร และไปหยุดพักเวลา 07:45 น. เพื่อรับประทานอาหาร อยากทราบว่าเขาขับรถมาแล้วเป็นระยะทางกี่กิโลเมตร
วิธีทำ
พรชัยเริ่มขับรถเวลา 05:00 น. และหยุดพักเวลา 07:45 น.
นั่นคือ พรชัยขับรถเป็นเวลา 2 ชั่วโมง 45 นาที
เวลา 60 นาที เท่ากับ 1 ชั่วโมง
 
เวลา 45 นาที เท่ากับ \(\mathsf{\frac{45}{60}}\) = \(\mathsf{\frac{3}{4}}\) ชั่วโมง
 
จะได้ว่าพรชัยใช้เวลาขับรถเท่ากับ \(\mathsf{2\frac{3}{4}}\) ชั่วโมง
 
ด้วยอัตราเร็วเฉลี่ยชั่วโมงละ \(\mathsf{80\frac{1}{2}}\) กม.
 
ดังนั้น พรชัยขับรถมาแล้วเป็นระยะทาง \(\mathsf{80\frac{1}{2} \times 2\frac{3}{4}}\) = \(\mathsf{\frac{161}{2} \times \frac{11}{4}}\)
 
= \(\mathsf{\frac{1,711}{8}}\)
 
= \(\mathsf{221\frac{3}{8}}\) กม.
 
ตอบ  \(\mathsf{221\frac{3}{8}}\) กิโลเมตร

 
6. หนังสือเล่มหนึ่งมี 405 หน้า สุคนธ์อ่านไปแล้ว \(\mathsf{\frac{11}{15}}\) ของจำนวนหน้าทั้งหมด ยังเหลือหนังสืออีกกี่หน้าที่สุคนธ์ยังไม่ได้อ่าน
 
วิธีทำ
 
สุคนธ์อ่านหนังสือไปแล้ว \(\mathsf{\frac{11}{15}}\) ของจำนวนหน้าทั้งหมด
 
นั่นคือ สุคนธ์อ่านหนังสือไปแล้ว \(\mathsf{\frac{11}{15}}\) x 405 = 297 หน้า
 
ดังนั้น ยังเหลือหนังสือที่ไม่ได้อ่านอีก 405 – 297 = 108 หน้า
ตอบ  108 หน้า

 
7. จิตราขับรถไปยังเมืองหนึ่ง วันแรกขับไปได้ทาง \(\mathsf{\frac{1}{3}}\) ของระยะทางทั้งหมด วันที่สองขับได้ทาง \(\mathsf{\frac{3}{4}}\) ของวันแรก ยังเหลือทางคิดเป็นเศษส่วนเท่าไรของระยะทางทั้งหมด
 
วิธีทำ
 
วันแรกจิตราขับรถได้ \(\mathsf{\frac{1}{3}}\) ของระยะทางทั้งหมด
 
วันที่สองจิตราขับรถได้ \(\mathsf{\frac{3}{4}}\) ของวันแรก
 
นั่นคือ วันที่สองจิตราขับรถได้ \(\mathsf{\frac{3}{4} \times \frac{1}{3}}\) = \(\mathsf{\frac{1}{4}}\) ของระยะทางทั้งหมด
 
รวม 2 วันจิตราขับรถได้ \(\mathsf{\frac{1}{3} + \frac{1}{4}}\) = \(\mathsf{\frac{4 + 3}{12}}\) = \(\mathsf{\frac{7}{12}}\) ของระยะทางทั้งหมด
 
โดยที่ระยะทางทั้งหมดเท่ากับ \(\mathsf{\frac{12}{12}}\)
 
ดังนั้น ยังเหลืออีก \(\mathsf{\frac{12}{12} \; – \, \frac{7}{12}}\) = \(\mathsf{\frac{5}{12}}\) ของระยะทางทั้งหมด
 
ตอบ  ยังเหลือทางคิดเป็น \(\mathsf{\frac{5}{12}}\) ของระยะทางทั้งหมด

 
8. เมื่อสามปีที่แล้วบุตรมีอายุเป็น \(\mathsf{\frac{1}{6}}\) ของอายุบิดา ถ้าปัจจุบันบิดามีอายุ 39 ปี ปัจจุบันบุตรอายุเท่าไร
วิธีทำ
ปัจจุบันบิดามีอายุ 39 ปี
เมื่อสามปีที่แล้วบิดามีอายุ 39 – 3 = 36 ปี
 
เมื่อสามปีที่แล้วบุตรมีอายุเป็น \(\mathsf{\frac{1}{6}}\) ของอายุบิดา เท่ากับ \(\mathsf{\frac{1}{6}}\) x 36 = 6 ปี
 
ดังนั้น ปัจจุบันบุตรมีอายุ 6 + 3 = 9 ปี
ตอบ  9 ปี

 
9. ปริศนาได้รับเงินเดือน 18,000 บาท ให้คุณแม่ \(\mathsf{\frac{1}{6}}\) ของเงินเดือนทั้งหมด ฝากธนาคาร \(\mathsf{\frac{1}{4}}\) ของเงินที่เหลือ นอกนั้นเก็บไว้เป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัว อยากทราบว่าปริศนาเหลือเงินเป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัวเท่าไร
วิธีทำ
ปริศนาได้รับเงินเดือน 18,000 บาท
 
ให้แม่ \(\mathsf{\frac{1}{6}}\) ของเงินเดือนทั้งหมด เท่ากับ \(\mathsf{\frac{1}{6}}\) x 18,000 = 3,000 บาท
 
เหลือเงิน 18,000 – 3,000 = 15,000 บาท
 
ฝากธนาคาร \(\mathsf{\frac{1}{4}}\) ของเงินที่เหลือ เท่ากับ \(\mathsf{\frac{1}{4}}\) x 15,000 = 3,750 บาท
 
เหลือเป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัวเท่ากับ 15,000 – 3,750 = 11,250 บาท
ตอบ  11,250 บาท

 
10. ชายคนหนึ่งขับรถยนต์ส่วนตัวพาครอบครัวไปเที่ยวต่างจังหวัด ก่อนออกรถเขาเติมน้ำมันไว้เต็มถัง เมื่อขับรถไปได้ 150 กิโลเมตร ปรากฏว่าเหลือน้ำมันอยู่ \(\mathsf{\frac{3}{4}}\) ของถัง อยากทราบว่าขณะนี้เหลือน้ำมันอยู่ในถังกี่ลิตร ถ้ารถคันนี้แล่นได้ระยะทาง 10 กิโลเมตรต่อน้ำมัน 1 ลิตร
วิธีทำ
ระยะทาง 10 กม. ใช้น้ำมัน 1 ลิตร
 
ระยะทาง 150 กม. ใช้น้ำมัน \(\mathsf{\frac{150}{10}}\) = 15 ลิตร
 
เนื่องจากเหลือน้ำมันอยู่ \(\mathsf{\frac{3}{4}}\) ของถัง
 
แสดงว่าใช้น้ำมันไป \(\mathsf{\frac{4}{4} \; – \, \frac{3}{4}}\) = \(\mathsf{\frac{1}{4}}\) ของถัง ซึ่งเท่ากับ 15 ลิตร
 
น้ำมันเหลืออยู่ \(\mathsf{\frac{3}{4}}\) ของถัง เท่ากับ 3 x \(\mathsf{\frac{1}{4}}\) = 3 x 15 = 45 ลิตร
 
ดังนั้น เหลือน้ำมันอยู่ในถัง 45 ลิตร
ตอบ  45 ลิตร

 
11. แถบจังหวัดสมุทรสงครามมีการทำนาเกลือเป็นอาชีพหลักอย่างหนึ่ง กองเกลือทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากที่มีขนาดกว้าง 1 วา ยาว 1 วา สูง 1 ศอก คิดเป็นปริมาตร 1 เกวียน ป้ามณฑามียุ้งเกลือหลังหนึ่งภายในเป็นทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากกว้าง \(\mathsf{4\frac{1}{2}}\) เมตร ยาว \(\mathsf{2\frac{2}{5}}\) เท่าของความกว้าง และสูง \(\mathsf{\frac{2}{3}}\) เท่าของความกว้าง ถ้าบรรจุเกลือภายในยุ้งหลังนี้จนเต็ม จงหาว่ายุ้งเกลือนี้จุเกลือได้กี่เกวียนและกี่ถัง (กำหนดให้ 1 เกวียนเท่ากับ 100 ถัง)
วิธีทำ
กองเกลือมีขนาดกว้าง 1 วา ยาว 1 วา สูง 1 ศอก
 
นั่นคือ กองเกลือมีขนาดกว้าง 2 ม. ยาว 2 ม. สูง \(\mathsf{\frac{1}{2}}\) ม.
 
จะได้ว่ากองเกลือมีปริมาตรเท่ากับ 2 x 2 x \(\mathsf{\frac{1}{2}}\) = 2 ลบ.ม.
 
ยุ้งเกลือกว้าง \(\mathsf{4\frac{1}{2}}\) ม.
 
ยาว \(\mathsf{2\frac{2}{5}}\) เท่าของความกว้าง เท่ากับ \(\mathsf{2\frac{2}{5} \times 4\frac{1}{2}}\) = \(\mathsf{\frac{12}{5} \times \frac{9}{2}}\) = \(\mathsf{\frac{54}{5}}\) ม.
 
สูง \(\mathsf{\frac{2}{3}}\) เท่าของความกว้าง เท่ากับ \(\mathsf{\frac{2}{3} \times 4\frac{1}{2}}\) = \(\mathsf{\frac{2}{3} \times \frac{9}{2}}\) = 3 ม.
 
จะได้ว่ายุ้งเกลือมีปริมาตรเท่ากับ \(\mathsf{4\frac{1}{2} \times \frac{54}{5}}\) x 3 = \(\mathsf{\frac{9}{2} \times \frac{54}{5}}\) x 3 = \(\mathsf{\frac{729}{5}}\) ลบ.ม.
 
กองเกลือปริมาตร 2 ลบ.ม. คิดเป็น 1 เกวียน
 
ยุ้งเกลือ \(\mathsf{\frac{729}{5}}\) ลบ.ม. จะเท่ากับ \(\mathsf{\frac{729}{5} \div 2}\) = \(\mathsf{\frac{729}{5} \times \frac{1}{2}}\) = \(\mathsf{\frac{729}{10}}\) เกวียน
 
หรือเท่ากับ \(\mathsf{72\frac{9}{10}}\) = 72 + \(\mathsf{\frac{9}{10}}\) เกวียน
 
โดย 1 เกวียน เท่ากับ 100 ถัง
 
จะได้ว่า \(\mathsf{\frac{9}{10}}\) เกวียน เท่ากับ \(\mathsf{\frac{9}{10}}\) x 100 = 90 ถัง
 
ดังนั้น ยุ้งเกลือนี้จุเกลือได้ 72 เกวียน 90 ถัง
ตอบ  72 เกวียน 90 ถัง