5. แก้วเปล่าใบหนึ่งหนัก 34.75 กรัม เติมน้ำใส่แก้วใบนี้แล้วนำไปชั่งใหม่ได้ 85.2 กรัม อยากทราบว่าน้ำในแก้วมีน้ำหนักเท่าไร
วิธีทำ
น้ำหนักแก้วรวมกับน้ำเท่ากับ     85.2 กรัม
น้ำหนักแก้วเปล่าเท่ากับ
    34.75 กรัม
น้ำหนักของน้ำในแก้วเท่ากับ   85.2 – 34.75 = 50.45 กรัม
ดังนั้น น้ำในแก้วมีน้ำหนัก 50.45 กรัม
ตอบ   50.45 กรัม

 
6. ถ้วยยูเรกา (eureka) ใบหนึ่งหนัก 20.4 กรัม ถ้าเติมน้ำเต็มถ้วยแล้วชั่งได้หนัก 243.2 กรัม แต่ถ้าเติมน้ำเกลือเต็มถ้วยแล้วนำไปชั่งใหม่ได้หนัก 248.5 กรัม จงหาว่า น้ำหนักของน้ำเต็มถ้วยน้อยกว่าน้ำหนักของน้ำเกลือเต็มถ้วยอยู่กี่กรัม
วิธีทำ
น้ำหนักของถ้วยที่เติมน้ำเกลือเท่ากับ     248.5 กรัม
น้ำหนักของถ้วยที่เติมน้ำเท่ากับ
              243.2 กรัม
น้ำหนักของถ้วยที่เติมน้ำน้อยกว่า 248.5 – 243.2 = 5.3 กรัม
ดังนั้น น้ำหนักของน้ำเต็มถ้วยน้อยกว่าน้ำหนักของน้ำเกลือเต็มถ้วยอยู่
5.3 กรัม
ตอบ   5.3 กรัม

 
7. สังกะสีชิ้นหนึ่งเมื่อชั่งในอากาศจะหนัก 78.5 กรัม ถ้าชั่งในน้ำจะหนัก 73.5 กรัม อยากทราบว่า น้ำหนักของสังกะสีเมื่อชั่งในน้ำน้อยกว่าเมื่อชั่งในอากาศเท่าไร
วิธีทำ
น้ำหนักสังกะสีเมื่อชั่งในอากาศเท่ากับ     78.5 กรัม
น้ำหนักสังกะสีเมื่อชั่งในน้ำเท่ากับ
            73.5 กรัม
น้ำหนักสังกะสีเมื่อชั่งในน้ำน้อยกว่าชั่งในอากาศ  78.5 – 73.5 = 5.0 กรัม
ดังนั้น น้ำหนักของสังกะสีเมื่อชั่งในน้ำน้อยกว่าเมื่อชั่งในอากาศ 5 กรัม
ตอบ   5 กรัม

 
8. ท่อระบายน้ำทรงกระบอกทำด้วยปูนซีเมนต์ วัดเส้นผ่านศูนย์กลางวงนอกของหน้าตัดได้ 0.425 เมตร ปูนซีเมนต์ที่หล่อหนา 0.038 เมตร จงหาความยาวของเส้นผ่านศูนย์กลางวงในของหน้าตัดที่เป็นส่วนกลวง
วิธีทำ
ปูนซีเมนต์หนา                                       0.038 ม.
เส้นผ่านศูนย์กลางวงนอกยาว
  0.425 ม.
แบบฝึกหัด 4.2 ข ทศนิยม
จากรูป ความยาวของเส้นผ่านศูนย์กลางวงในหาได้โดยนำความยาวของเส้นผ่านศูนย์กลางวงนอกลบด้วยความหนาของปูนซีเมนต์ทั้งสองด้าน
จะได้ ความยาวของเส้นผ่านศูนย์กลางวงใน
 
 
= 0.425 – (0.038 + 0.038)
= 0.425 – 0.076
= 0.349 ม.
ดังนั้น ความยาวของเส้นผ่านศูนย์กลางวงในของหน้าตัดที่เป็นส่วนกลวงเท่ากับ 0.349 ม.
ตอบ   0.349 เมตร

 
9. ธาตุไนโตรเจน ออกซิเจน และไฮโดรเจน มีจุดหลอมเหลว -209.8℃, -218.8℃ และ -259.2℃ ตามลำดับ อยากทราบว่าจุดหลอมเหลวสูงสุดและต่ำสุดของธาตุเหล่านี้ต่างกันกี่องศา
วิธีทำ
ธาตุที่มีจุดหลอมเหลวสูงสุด คือ ไนโตรเจน ที่     -209.8℃
ธาตุที่มีจุดหลอมเหลวต่ำสุด คือ ไฮโดรเจน ที่
 -259.2℃
ธาตุที่มีจุดหลอมเหลวสูงสุดและต่ำสุดต่างกัน
 
 
 
= -209.8 – (-259.2)
= -209.8 + 259.2
= 259.2 – 209.8
= 49.4℃
ดังนั้น จุดหลอมเหลวสูงสุดและต่ำสุดต่างกัน  49.4℃
ตอบ   49.4 องศาเซลเซียส

 
10. ธาตุออกซิเจน มีจุดหลอมเหลว -218.8℃ และมีจุดเดือด -183℃ ถ้าต้องการให้ธาตุออกซิเจนเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นแก๊ส จะต้องเพิ่มอุณหภูมิอย่างน้อยที่สุดเท่าใด
วิธีทำ
ธาตุออกซิเจนมีจุดเดือด                   -183℃
และมีจุดหลอมเหลว
  -218.8℃
ถ้าต้องการให้ธาตุออกซิเจนเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นแก๊ส
จะต้องเพิ่มอุณหภูมิอย่างน้อยที่สุด
 
 
 
= -183 – (-218.8)
= -183 + 218.8
= 218.8 – 183
= 35.8℃
ดังนั้น ถ้าต้องการให้ธาตุออกซิเจนเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นแก๊ส จะต้องเพิ่มอุณหภูมิอย่างน้อยที่สุด  35.8℃
ตอบ   35.8 องศาเซลเซียส