3. จงเรียงลำดับจำนวนต่อไปนี้จากมากไปน้อย
1) 0.2, 0.21, 0.24
วิธีคิด
เปรียบเทียบเลขโดดในตำแหน่งเดียวกัน
0.2 ทำให้เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่ง โดยเติม 0 ต่อท้าย 1 ตัว จะได้เป็น 0.20
0 | . | 2 | 0
0 | . | 2 | 1
0 | . | 2 | 4
จะเห็นว่าเลขโดดในหลักหน่วยและหลักส่วนสิบมีค่าเท่ากันทุกจำนวน
จึงเปรียบเทียบเลขโดดในหลักส่วนร้อย คือ 0, 1 และ 4
จะได้ว่า
 
4 มีค่ามากที่สุด นั่นคือ 0.24 มีค่ามากที่สุด
0 มีค่าน้อยที่สุด นั่นคือ 0.20 หรือ 0.2 มีค่าน้อยที่สุด
ดังนั้น เรียงจากมากไปน้อยจะได้ 0.24, 0.21, 0.2
ตอบ 0.24, 0.21, 0.2

 
2) 36.25, 36.50, 36.15
วิธีคิด
เปรียบเทียบเลขโดดในตำแหน่งเดียวกัน
3 | 6 | . | 2 | 5
3 | 6 | . | 5 | 0
3 | 6 | . | 1 | 5
จะเห็นว่าเลขโดดในหลักสิบและหลักหน่วยมีค่าเท่ากันทุกจำนวน
จึงเปรียบเทียบเลขโดดในหลักส่วนสิบ คือ 2, 5 และ 1
จะได้ว่า
 
5 มีค่ามากที่สุด นั่นคือ 36.50 มีค่ามากที่สุด
1 มีค่าน้อยที่สุด นั่นคือ 36.15 มีค่าน้อยที่สุด
ดังนั้น เรียงจากมากไปน้อยจะได้ 36.50, 36.25, 36.15
ตอบ 36.50, 36.25, 36.15

 
3) -0.31, -0.42, -0.15
วิธีคิด
เปรียบเทียบเลขโดดในตำแหน่งเดียวกันโดยพิจารณาถึงเครื่องหมายลบด้วย
-0 | . | 3 | 1
-0 | . | 4 | 2
-0 | . | 1 | 5
จะเห็นว่าเลขโดดในหลักหน่วยมีค่าเท่ากันทุกจำนวน
จึงเปรียบเทียบเลขโดดในหลักส่วนสิบโดยคิดเครื่องหมายลบด้วย
คือ -3, -4 และ -1
จะได้ว่า
 
-1 มีค่ามากที่สุด นั่นคือ -0.15 มีค่ามากที่สุด
-4 มีค่าน้อยที่สุด นั่นคือ -0.42 มีค่าน้อยที่สุด
ดังนั้น เรียงจากมากไปน้อยจะได้ -0.15, -0.31, -0.42
ตอบ -0.15, -0.31, -0.42

 
4) -3.1, -2.1, -1.3
วิธีคิด
เปรียบเทียบเลขโดดในตำแหน่งเดียวกันโดยพิจารณาถึงเครื่องหมายลบด้วย
-3.1
-2.1
-1.3
จะเห็นว่าเลขโดดในหลักหน่วยของทุกจำนวนมีค่าไม่เท่ากัน
จึงเปรียบเทียบเลขโดดในหลักหน่วยโดยคิดเครื่องหมายลบด้วย
คือ -3, -2 และ -1
จะได้ว่า
 
-1 มีค่ามากที่สุด นั่นคือ -1.3 มีค่ามากที่สุด
-3 มีค่าน้อยที่สุด นั่นคือ -3.1 มีค่าน้อยที่สุด
ดังนั้น เรียงจากมากไปน้อยจะได้ -1.3, -2.1, -3.1
ตอบ -1.3, -2.1, -3.1

 
5) 6.152, -6.052, -6.612, 6.602
วิธีคิด
แยกการเปรียบเทียบเป็น 2 ชุด ระหว่างทศนิยมที่เป็นจำนวนบวกและจำนวนลบ
(1) 6.152 เปรียบเทียบกับ 6.602
6 | . | 1 | 5 | 2
6 | . | 6 | 0 | 2
จะเห็นว่าเลขโดดในหลักหน่วยมีค่าเท่ากันทุกจำนวน
จึงเปรียบเทียบเลขโดดในหลักส่วนสิบ คือ 1 กับ 6
ซึ่ง 6 > 1 นั่นคือ 6.602 มีค่ามากกว่า 6.152
เมื่อเรียงจากมากไปน้อยจะได้ 6.602, 6.152
 
(2) -6.052 เปรียบเทียบกับ -6.612
-6 | . | 0 | 5 | 2
-6 | . | 6 | 1 | 2
จะเห็นว่าเลขโดดในหลักหน่วยมีค่าเท่ากันทุกจำนวน
จึงเปรียบเทียบเลขโดดในหลักส่วนสิบโดยคิดเครื่องหมายลบด้วย
คือ 0 กับ -6 ซึ่ง 0 > -6 นั่นคือ -6.052 มีค่ามากกว่า -6.612
เมื่อเรียงจากมากไปน้อยจะได้ -6.052, -6.612
 
เนื่องจากทศนิยมที่เป็นจำนวนบวกมีค่ามากกว่าทศนิยมที่เป็นจำนวนลบ
ดังนั้น เมื่อนำจำนวนทั้งหมดมาเรียงจากมากไปน้อยจะได้ 6.602, 6.152, -6.052, -6.612
ตอบ 6.602, 6.152, -6.052, -6.612

 
6) -30.170, -30.710, -30.701, -30.107
วิธีคิด
เปรียบเทียบเลขโดดในตำแหน่งเดียวกันโดยพิจารณาถึงเครื่องหมายลบด้วย
-3 | 0 | . | 1 | 7 | 0
-3 | 0 | . | 7 | 1 | 0
-3 | 0 | . | 7 | 0 | 1
-3 | 0 | . | 1 | 0 | 7
จะเห็นว่าเลขโดดในหลักสิบและหลักหน่วยของทุกจำนวนมีค่าเท่ากัน
จึงเปรียบเทียบเลขโดดในหลักส่วนสิบโดยคิดเครื่องหมายลบด้วย
คือ -1, -7, -7, และ -1
จะเห็นว่าเลขโดดในหลักส่วนสิบมีค่าเท่ากัน 2 คู่ คือ -1 และ -7
จึงแยกการเปรียบเทียบเป็น 2 ชุด
(1) -30.170 เปรียบเทียบกับ -30.107
-3 | 0 | . | 1 | 7 | 0
-3 | 0 | . | 1 | 0 | 7
เลขโดดในหลักสิบ หลักหน่วย และหลักส่วนสิบของทุกจำนวนมีค่าเท่ากัน
จึงเปรียบเทียบเลขโดดในหลักส่วนร้อยโดยคิดเครื่องหมายลบด้วย
คือ -7 กับ 0 ซึ่ง 0 > -7 นั่นคือ -30.107 มีค่ามากกว่า -30.170
เมื่อเรียงจากมากไปน้อยจะได้ -30.107, -30.170
 
(2) -30.710 เปรียบเทียบกับ -30.701
-3 | 0 | . | 7 | 1 | 0
-3 | 0 | . | 7 | 0 | 1
เลขโดดในหลักสิบ หลักหน่วย และหลักส่วนสิบของทุกจำนวนมีค่าเท่ากัน
จึงเปรียบเทียบเลขโดดในหลักส่วนร้อยโดยคิดเครื่องหมายลบด้วย
คือ -1 กับ 0 ซึ่ง 0 > -1 นั่นคือ -30.701 มีค่ามากกว่า -30.710
เมื่อเรียงจากมากไปน้อยจะได้ -30.701, -30.710
 
เนื่องจาก -1 มากกว่า -7 จะได้ว่า -30.107, -30.170 มากกว่า -30.701, -30.710
ดังนั้น เมื่อนำจำนวนทั้งหมดมาเรียงจากมากไปน้อยจะได้ -30.107, -30.170, -30.701, -30.710
ตอบ -30.107, -30.170, -30.701, -30.710

 
4. นักเรียนห้าคนชั่งน้ำหนักที่ห้องพยาบาลได้ดังนี้ 35.4, 37.5, 41.5, 39.6 และ 42.0 กิโลกรัม จงหาว่าน้ำหนักตัวที่มากที่สุดและน้อยที่สุดเป็นเท่าใด
วิธีคิด
เปรียบเทียบส่วนที่เป็นจำนวนเต็ม คือ 35, 37, 41, 39 และ 42
แล้วเรียงลำดับจากน้อยไปมาก จะได้ 35, 37, 39, 41, 42
นั่นคือน้ำหนักเรียงจากน้อยไปมาก จะได้ 35.4, 37.5, 39.6, 41.5, 42.0
ดังนั้น น้ำหนักที่มากที่สุดคือ 42.0 กก. และน้ำหนักที่น้อยที่สุดคือ 35.4 กก.
ตอบ น้ำหนักตัวที่มากที่สุด คือ 42.0 กิโลกรัม และน้ำหนักตัวที่น้อยที่สุด คือ 35.4 กิโลกรัม
 
5. ธาตุไนโตรเจน ออกซิเจน และไฮโดรเจน มีจุดหลอมเหลว -209.8 ℃, -218.8 ℃ และ -259.2 ℃ ตามลำดับ ธาตุใดมีจุดหลอมเหลวสูงสุด และธาตุใดมีจุดหลอมเหลวต่ำสุด
วิธีคิด
เปรียบเทียบส่วนที่เป็นจำนวนเต็ม คือ -209, -218 และ -259
แล้วเรียงลำดับจากน้อยไปมาก จะได้ -259, -218, -209
นั่นคือ จุดหลอมเหลวเรียงจากน้อยไปมาก จะได้ -259.2, -218.8, -209.8
ดังนั้น จุดหลอมเหลวที่สูงที่สุดคือ -209.8℃
และจุดหลอมเหลวที่ต่ำที่สุดคือ -259.5℃
ตอบ ธาตุไนโตรเจนมีจุดหลอมเหลวสูงที่สุด คือ -209.8 ℃ และธาตุไฮโดรเจนมีจุดหลอมเหลวต่ำที่สุด คือ -259.2 ℃
 
6. วันหนึ่งในฤดูหนาวที่เมืองเวอร์โคยัสก์ ในมณฑลไซบีเรียของรัสเซียมีอุณหภูมิเฉลี่ย -75.8℃ และที่เมืองแฟร์แบงส์ ในรัฐอะแลสกา สหรัฐอเมริกา มีอุณหภูมิเฉลี่ย -52.2℃ ในวันนั้นเมืองใดมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงกว่ากัน
วิธีคิด
เปรียบเทียบส่วนที่เป็นจำนวนเต็ม คือ -75 และ -52
จะได้ว่า -75 น้อยกว่า -52
ดังนั้น เมืองแฟร์แบงส์ที่มีอุณหภูมิเฉลี่ย -52.2℃ มีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงกว่า
ตอบ เมืองแฟร์แบงส์มีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงกว่าเมืองเวอร์โคยัสก์
 
7. จากสถิติเวลาซ้อมวิ่ง 200 เมตร ของนักกรีฑาสีต่างๆ ของโรงเรียนก้าวหน้าวิทยา พบว่าสีแดง สีฟ้า สีม่วง และสีเหลือง ใช้เวลาเฉลี่ย 34.10, 37.25, 33.43 และ 35.55 วินาที ตามลำดับ นักเรียนคิดว่าในเวลาแข่งขันจริงนักกรีฑาของสีใดน่าจะวิ่งเข้าเส้นชัยเป็นคนแรก
วิธีคิด
เปรียบเทียบส่วนที่เป็นจำนวนเต็ม คือ 34, 37, 33 และ 35
จะได้ว่า 33 เป็นจำนวนที่น้อยที่สุด
นั่นคือ 33.43 วินาที เป็นเวลาที่ใช้ในการซ้อมวิ่งน้อยที่สุด
ดังนั้น สีม่วงที่ใช้เวลาซ้อมวิ่ง 33.43 วินาที น่าจะวิ่งเข้าเส้นชัยเป็นคนแรก
ตอบ สีม่วง เพราะใช้เวลาวิ่งเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ 33.43 วินาที