3. กราฟต่อไปนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณของยาชนิดหนึ่งที่อยู่ในเลือดของผู้ป่วยและเวลาที่ผ่านไปหลังจากรับประทานยา 500 มิลลิกรัม
ปริมาณยา
จากกราฟ จงตอบคำถามต่อไปนี้
1) ปริมาณยาที่เหลืออยู่ในเลือดของผู้ป่วยเปลี่ยนแปลงตามอะไร และเปลี่ยนแปลงอย่างไร
ตอบ  ปริมาณยาที่เหลืออยู่ในเลือดของผู้ป่วยเปลี่ยนแปลงตามเวลาที่ผ่านไปหลังจากรับประทานยา โดยเมื่อเวลาผ่านไปปริมาณยาจะลดลง
 
2) หลังจากผู้ป่ายรับประทานยาไปแล้ว 2 ชั่วโมง มีปริมาณยาที่เหลืออยู่ในเลือดเท่าไร
ตอบ  ประมาณ 125 มิลลิกรัม
 
3) หลังจากผู้ป่วยรับประทานยาไปแล้วนานเท่าไร จึงจะมีปริมาณยาที่เหลืออยู่ในเลือดครึ่งหนึ่งของปริมาณเดิม
วิธีทำ
ปริมาณยาเมื่อเริ่มรับประทานเท่ากับ 500 มก.
ปริมาณยาที่เหลือครึ่งหนึ่งของปริมาณเดิมเท่ากับ 500 \(\div\) 2 = 250 มก.
จากกราฟ จะมีปริมาณยาเหลืออยู่ในเลือด 250 มก. เมื่อเวลาผ่านไป 1 ชม.
ตอบ  1 ชั่วโมง

4. จงเขียนกราฟแสดงค่าบริการขนส่งสินค้าของบริษัทหนึ่ง ซึ่งคิดจากค่าบริการเริ่มต้น 300 บาท รวมกับค่าบริการที่คิดตามน้ำหนักสินค้ากิโลกรัมละ 50 บาท ทั้งนี้ลูกค้าจะต้องส่งสินค้าอย่างน้อย 1 กิโลกรัม
โดยให้ แกน X แสดงน้ำหนักสินค้า (กิโลกรัม)
               แกน Y แสดงค่าบริการขนส่ง (บาท)
วิธีคิด
ค่าบริการขนส่ง = 300 + (น้ำหนักสินค้า x 50)
เช่น ค่าบริการขนส่ง 1 กก. = 300 + (1 x 50) = 350 บ.
       ค่าบริการขนส่ง 2 กก. = 300 + (2 x 50) = 400 บ.
วิธีทำ
เขียนตารางแสดงความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักสินค้าเป็นกิโลกรัม
และค่าบริการขนส่งเป็นบาท ได้ดังนี้
น้ำหนักสินค้า (กก.) 1 2 3 4 5 6 7 8 9
ค่าบริการขนส่ง (บาท) 350 400 450 500 550 600 650 700 750
จากตาราง เขียนคู่อันดับแสดงความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักสินค้า
เป็นกิโลกรัมและค่าบริการขนส่งเป็นบาท ได้ดังนี้
(1, 350), (2, 400), (3, 450), (4, 500), (5, 550), (6, 600), (7, 650), (8, 700) และ (9, 750)
จะเขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ได้ดังรูป
ค่าขนส่ง
แล้วใช้ข้อมูลจากกราฟเพื่อตอบคำถามต่อไปนี้
1) ถ้าส่งสินค้าที่มีน้ำหนัก 6.5 กิโลกรัม จะเสียค่าบริการขนส่งกี่บาท
ตอบ  625 บาท
 
2) ถ้าไพลินใช้บริการขนส่งสินค้าของบริษัทนี้ โดยจ่ายค่าบริการ 750 บาท อยากทราบว่าไพลินส่งสินค้ากี่กิโลกรัม
ตอบ  9 กิโลกรัม

5. เรือแสนบดินทร์และเรือสินธาราเดินทางจากท่าเรือ ก ไปยังท่าเรือ ข ในเส้นทางเดียวกัน แต่ออกเดินทางคนละเวลากัน มีกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างระยะทาง (กิโลเมตร) และเวลา (นาฬิกา) เป็นดังนี้
เรือแสนบดินทร์
จากกราฟ จงตอบคำถามต่อไปนี้
1) เรือแสนบดินทร์ออกเดินทางเวลาใด ด้วยอัตราเร็วเท่าใด
ตอบ  เรือแสนบดินทร์ออกเดินทางเวลา 8.00 น. ด้วยอัตราเร็ว 40 กิโลเมตร/ชั่วโมง
 
2) เรือสินธาราออกเดินทางเวลาใด ด้วยอัตราเร็วเท่าใด
ตอบ  เรือสินธาราออกเดินทางเวลา 9.00 น. ด้วยอัตราเร็ว 60 กิโลเมตร/ชั่วโมง
 
3) เรือทั้งสองลำจะแล่นได้ระยะทางเท่ากัน หลังจากออกเดินทางไปได้กี่ชั่วโมง
วิธีทำ
จากกราฟ เรือทั้งสองลำจะแล่นได้ระยะทางเท่ากันที่ 120 กม.
เมื่อเวลา 11.00 น.
เรือแสนบดินทร์ออกเดินทางเวลา 8.00 น.
นั่นคือ ออกเดินทางมาแล้ว 11 – 8 = 3 ชม.
เรือสินธาราออกเดินทางเวลา 9.00 น.
นั่นคือ ออกเดินทางมาแล้ว 11 – 9 = 2 ชม.
ตอบ  เรือแสนบดินทร์ออกเดินทางไปได้ 3 ชั่วโมง และเรือสินธาราออกเดินทางไปได้ 2 ชั่วโมง
 
4) หลังเวลา 11:00 น. เรือลำใดแล่นได้ระยะทางมากกว่า
ตอบ  เรือสินธารา
 
5) เมื่อเรือทั้งสองลำแล่นออกจากท่าเรือไปแล้ว เวลาใดที่เรือทั้งสองลำจะแล่นได้ระยะทางต่างกัน 20 กิโลเมตร
วิธีคิด
จากกราฟ ที่เวลา 10.00 น. เรือแสนบดินทร์แล่นได้ระยะทาง 80 กม.
ที่เวลา 12.00 น. เรือแสนบดินทร์แล่นได้ระยะทาง 160 กม.
และเรือสินธาราแล่นได้ระยะทาง 180 กม. มีระยะทางต่างกัน 20 กม.
ดังนั้น เวลาที่เรือทั้งสองลำจะแล่นได้ระยะทางต่างกัน 20 กม.
คือ เวลา 10.00 น. และ 12.00 น.
ตอบ  เวลา 10.00 น. และ 12.00 น.
 
6) ถ้าจุดหมายปลายทางอยู่ห่างจากจุดเริ่มต้น 200 กิโลเมตร เรือสินธาราจะถึงจุดหมายปลายทางเวลาประมาณเท่าใด
ตอบ  เวลาประมาณ 12.20 น.

6. กราฟต่อไปนี้แสดงความสามารถในการละลายของสาร P และสาร Q ในน้ำ 100 กรัม ณ อุณหภูมิต่างๆ กัน
สาร P, สาร Q
จากกราฟ จงตอบคำถามต่อไปนี้
1) ที่อุณหภูมิใด ความสามารถในการละลายของสารทั้งสองชนิดเท่ากัน และละลายได้กี่กรัม
วิธีคิด
เส้นกราฟตัดกันที่อุณหภูมิ 30℃ และละลายได้ 35 กรัม
ตอบ  ที่อุณหภูมิ 30℃ และละลายได้ 35 กรัม
 
2) ที่อุณหภูมิ 20℃ สารใดละลายน้ำได้มากกว่า
ตอบ  สาร Q
 
3) ที่อุณหภูมิ 50℃ สารใดละลายน้ำได้มากกว่า
ตอบ  สาร P
 
4) จงบรรยายเปรียบเทียบความสามารถในการละลายของสาร P และสาร Q ในน้ำ 100 กรัม ณ อุณหภูมิต่างๆ กัน
ตอบ  ที่อุณหภูมิ 0 ถึงน้อยกว่า 30℃ สาร Q มีความสามารถในการละลายมากกว่าสาร P
ที่อุณหภูมิ 30℃ สารทั้งสองมีความสามารถในการละลายเท่ากัน
ที่อุณหภูมิมากกว่า 30℃ สาร P มีความสามารถในการละลายมากกว่าสาร Q
 
5) ถ้าให้สาร P และสาร Q ละลายในน้ำ 100 กรัม โดยเพิ่มอุณหภูมิให้สูงกว่า 90℃ นักเรียนคาดว่าความสามารถในการละลายของสารทั้งสองจะแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ  สาร P จะมีความสามารถในการละลายมากกว่าสาร Q