เฉลยแบบฝึกหัดคณิตศาสตร์ ม.2 สถิติ (2) แบบฝึกหัด 1.1
1. คะแนนสอบปลายภาคเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้น ม.2 ห้องหนึ่งเป็นดังนี้
21
35
35
17
31
25
16
29
39
31
15
35
31
22
30
28
38
34
35
39
25
30
16
28
19
1) จงเขียนแผนภาพจุดแสดงคะแนนสอบ
ตอบ เขียนแผนภาพจุดแสดงคะแนนสอบได้ดังนี้
 
แผนภาพจุดแสดงคะแนนสอบปลายภาค
คะแนนสอบปลายภาคเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้น ม.2
 
2) คะแนนสูงสุดและต่ำสุดของการสอบในครั้งนี้เป็นเท่าใด
วิธีคิด   จากแผนภาพในข้อ 1) คะแนนสูงสุด คือ 39 และคะแนนต่ำสุด คือ 15
ตอบ คะแนนสูงสุดในการสอบครั้งนี้ คือ 39 และคะแนนต่ำสุด คือ 15
 
3) นักเรียนส่วนมากได้คะแนนเท่าใด
ตอบ 35 คะแนน

 
2. ข้อมูลเกี่ยวกับความสูง (เซนติเมตร) ของนักเรียนห้องหนึ่งเป็นดังนี้
168
145
169
165
163
150
151
156
145
175
153
149
166
156
160
162
147
173
147
166
161
166
160
153
145
149
161
162
171
175
1) จงเขียนแผนภาพจุดแสดงความสูงของนักเรียนห้องนี้
ตอบ เขียนแผนภาพจุดแสดงคะแนนสอบได้ดังนี้
 
แผนภาพจุดแสดงความสูงของนักเรียนห้องหนึ่ง
ความสูง (เซนติเมตร) ของนักเรียนห้องหนึ่ง
 
2) นักเรียนคนที่สูงที่สุด สูงกว่านักเรียนคนที่เตี้ยสุดเท่าใด
วิธีคิด  นักเรียนคนที่สูงที่สุด สูง 175 ซม.
นักเรียนคนที่เตี้ยที่สุด สูง 145 ซม.
คนที่สูงที่สุด สูงกว่าคนที่เตี้ยที่สุด 175 – 145 = 30 ซม.
ตอบ 30 เซนติเมตร
 
3) นักเรียนส่วนมากสูงเท่าใด
ตอบ นักเรียนส่วนมากสูง 145 เซนติเมตร และ 166 เซนติเมตร
 
4) โรงเรียนต้องการนักกีฬาบาสเกตบอลของโรงเรียน โดยจะคัดเลือกจากนักเรียนที่สูงตั้งแต่ 160 เซนติเมตรขึ้นไป นักเรียนห้องนี้มีโอกาสได้รับการคัดเลือกทั้งหมดกี่คน
ตอบ 17 คน

 
3. ในคาบเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ครูให้นักเรียนจับชีพจรของตนเอง เพื่อหาอัตราการเต้นของหัวใจ (ครั้งต่อนาที) ได้ผลดังแผนภาพจุดต่อไปนี้
 
แผนภาพจุดแสดงอัตราการเต้นของหัวใจ
อัตราการเต้นของหัวใจ (ครั้งต่อนาที)
 
1) ในคาบเรียนนี้มีนักเรียนทั้งหมดกี่คน
ตอบ 28 คน
 
2) พิสัยของอัตราการเต้นของหัวใจของนักเรียนเป็นเท่าใด
วิธีคิด  อัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด คือ 90 ครั้งต่อนาที
อัตราการเต้นของหัวใจต่ำสุด คือ 59 ครั้งต่อนาที
พิสัย เท่ากับ 90 – 59 = 31 ครั้งต่อนาที
ตอบ 30 ครั้งต่อนาที
 
3) นักเรียนส่วนใหญ่มีอัตราการเต้นของหัวใจเป็นเท่าใด
ตอบ นักเรียนส่วนใหญ่มีอัตรการเต้นของหัวใจ 71 ครั้งต่อนาที และ 86 ครั้งต่อนาที

 
4. ครูสนใจพฤติกรรมในการนอนของนักเรียนและต้องการให้นักเรียนตระหนักถึงความสำคัญของจำนวนชั่วโมงในการนอน จึงเก็บรวบรวมข้อมูลจำนวนชั่วโมงในการนอนของนักเรียน โดยแบ่งข้อมูลที่เก็บรวบรวมออกเป็น 2 แบบ คือ จำนวนชั่วโมงในการนอนเมื่อวันรุ่งขึ้นต้องไปโรงเรียน และจำนวนชั่วโมงในการนอนเมื่อวันรุ่งขึ้นเป็นวันหยุด แล้วนำเสนอข้อมูลที่ได้โดยใช้แผนภาพจุด ดังนี้
 
แผนภาพจุดแสดงจำนวนชั่วโมงการนอนเมื่อต้องไปโรงเรียน
จำนวนชั่วโมงในการนอนเมื่อวันรุ่งขึ้นต้องไปโรงเรียน
 
แผนภาพจุดแสดงจำนวนชั่วโมงการนอนเมื่อวันรุ่งขึ้นหยุด
จำนวนชั่วโมงในการนอนเมื่อวันรุ่งขึ้นเป็นวันหยุด
 
1) พิสัยของจำนวนชั่วโมงที่นักเรียนใช้ในการนอนแต่ละแบบเป็นเท่าใด
วิธีคิด  เมื่อวันรุ่งขึ้นต้องไปโรงเรียน
จำนวนชั่วโมงในการนอนสูงสุด คือ 11 ชั่วโมง
จำนวนชั่วโมงในการนอนต่ำสุด คือ 7.5 ชั่วโมง
พิสัยจำนวนชั่วโมงในการนอน เท่ากับ 11 – 7.5 = 3.5 ชั่วโมง
 
เมื่อวันรุ่งขึ้นเป็นวันหยุด
จำนวนชั่วโมงในการนอนสูงสุด คือ 13 ชั่วโมง
จำนวนชั่วโมงในการนอนต่ำสุด คือ 8.9 ชั่วโมง
พิสัยจำนวนชั่วโมงในการนอน เท่ากับ 13 – 8.9 = 4.1 ชั่วโมง
ตอบ พิสัยของจำนวนชั่วโมงที่นักเรียนใช้ในการนอนเมื่อวันรุ่งขึ้นต้องไปโรงเรียน คือ 3.5 ชั่วโมง และเมื่อวันรุ่งขึ้นเป็นวันหยุด คือ 4.1 ชั่วโมง
 
2) จำนวนชั่วโมงในการนอนของนักเรียนส่วนใหญ่ในแต่ละแบบอยู่ในช่วงใด
ตอบ จำนวนชั่วโมงในการนอนของนักเรียนส่วนใหญ่เมื่อวันรุ่งขึ้นต้องไปโรงเรียน คือ 10 ชั่วโมง และเมื่อวันรุ่งขึ้นเป็นวันหยุด คือ 11 ชั่วโมง
 
3) ลักษณะแผนภาพจุดของจำนวนชั่วโมงที่นักเรียนใช้ในการนอนทั้งสองแบบแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร
ตอบ แตกต่างกัน คือ แผนภาพจุดของจำนวนชั่วโมงในการนอนเมื่อวันรุ่งขึ้นต้องไปโรงเรียนจะมีการกระจายกว้างกว่า คือ มีจำนวนนักเรียนที่มีจำนวนชั่วโมงตั้งแต่ 7.5 – 10 ชั่วโมงกระจายกันไป แต่ละเวลาจะมีจำนวนนักเรียนไม่ต่างกันมาก ส่วนแผนภาพจุดของจำนวนชั่วโมงในการนอนเมื่อวันรุ่งขึ้นเป็นวัดหยุดจะกระจุกตัวอยู่ที่ 11 และ 12 ชั่วโมงเป็นจำนวนมาก
 
4) นักเรียนจะสรุปเกี่ยวกับจำนวนชั่วโมงในการนอนของนักเรียนห้องนี้ได้ว่าอย่างไร
ตอบ เมื่อวันรุ่งขึ้นต้องไปโรงเรียนจำนวนชั่วโมงที่ใช้ในการนอนของนักเรียนส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 9 – 10 ชั่วโมง แต่จำนวนชั่วโมงการนอนเมื่อวันรุ่งขึ้นเป็นวันหยุดจะอยู่ที่ 11 – 12 ชั่วโมง นั่นคือ เมื่อวันรุ่งขึ้นเป็นวันหยุดนักเรียนจะมีจำนวนชั่วโมงในการนอนมากกว่าเมื่อวันรุ่งขึ้นต้องไปโรงเรียน

 
5. การวิ่งระยะไกล (distance run) เป็นหนึ่งในการทดสอบสมรรถภาพทางกายสำหรับเด็กไทยอายุ 7-18 ปี เพื่อวัดความอดทนของระบบหัวใจและไหวเวียนเลือด โดยใช้ระยะทาง 1,600 เมตร ในการทดสอบเด็กอายุ 13-18 ปี จากการทดสอบการวิ่งระยะไกลของนักเรียนชายซึ่งมีอายุ 14 ปี ได้ผลดังแผนภาพจุดต่อไปนี้
แผนภาพจุดแสดงเวลาที่ใช้ในการวิ่งของนักเรียนชาย
เวลา (นาที) ที่ใช้ในการวิ่งระยะไกลของนักเรียนชาย
 
เกณฑ์มาตรฐานในการประเมินสมรรถภาพทางกายด้วยการวิ่งระยะไกล (นาที) เป็นดังนี้
อายุ ชาย หญิง
14 ปี ดีมาก ดี ปานกลาง ต่ำ ต่ำมาก ดีมาก ดี ปานกลาง ต่ำ ต่ำมาก
7:05 ลงมา 7:06-9:35 9:36-12:54 12:55-15:47 15:48 ขึ้นไป 8:41 ลงมา 8:42-11:35 11:36-14:27 14:28-17:14 17:15 ขึ้นไป
1) นักเรียนชายที่มีสมรรถภาพทางกายอยู่ในระดับดีมากมีกี่คน
วิธีคิด  จากแผนภาพจุดนักเรียนชายที่ใช้เวลาในการวิ่งระยะไกล น้อยกว่า 7.05 นาที มี 3 คน
ตอบ 3 คน
 
2) เราจะประเมินสมรรถภาพทางกายด้วยการวิ่งระยะไกลของนักเรียนชายกลุ่มนี้ได้อย่างไร
ตอบ นักเรียนชายส่วนใหญ่มีสมรรถภาพทางกายอยู่ในระดับดี
 
3) ให้นักเรียนกำหนดข้อมูลเวลาที่ใช้ในการวิ่งของนักเรียนหญิง 30 คน ตามเกณฑ์มาตรฐานในการประเมินสมรรถภาพทางกายแล้วเขียนแผนภาพจุด แสดงเวลาที่ใช้ในการวิ่งระยะไกล โดยให้แผนภาพของข้อมูลที่กำหนด มีลักษณะและผลประเมินสมรรถภาพทางกายโดยรวมเป็นไปในทำนองเดียวกับของนักเรียนชาย
วิธีคิด  จากแผนภาพจุดเวลาที่ใช้ในการวิ่งระยะไกลของนักเรียนชายจะเห็นว่า
มีลักษณะสมมาตร และเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานตามตาราง
ประเมินสมรรถภาพทางกายด้วยการวิ่งระยะไกล จะได้ว่า
นักเรียนชายอยู่ในเกณฑ์ดีมากโดยใช้เวลา 7 นาที จำนวน 3 คน
นักเรียนชายอยู่ในเกณฑ์ดีโดยใช้เวลา 8 นาที จำนวน 5 คน
นักเรียนชายอยู่ในเกณฑ์ดีโดยใช้เวลา 9 นาที จำนวน 14 คน
นักเรียนชายอยู่ในเกณฑ์ปานกลางโดยใช้เวลา 10 นาที จำนวน 5 คน
นักเรียนชายอยู่ในเกณฑ์ปานกลางโดยใช้เวลา 11 นาที จำนวน 3 คน
และไม่มีนักเรียนชายที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำหรือต่ำมาก
 
เมื่อนำมากำหนดข้อมูลเวลาที่ใช้ในการวิ่งของนักเรียนหญิง 30 คน
ตามเกณฑ์มาตรฐานในการประเมินสมรรถภาพทางกายให้มีลักษณะ
และผลประเมินเป็นไปในทำนองเดียวกับของนักเรียนชาย จะได้ข้อมูลดังนี้
นักเรียนหญิงอยู่ในเกณฑ์ดีมากโดยใช้เวลา 8 นาที จำนวน 3 คน
นักเรียนหญิงอยู่ในเกณฑ์ดีโดยใช้เวลา 9 นาที จำนวน 5 คน
นักเรียนหญิงอยู่ในเกณฑ์ดีโดยใช้เวลา 10.5 นาที จำนวน 14 คน
นักเรียนหญิงอยู่ในเกณฑ์ปานกลางโดยใช้เวลา 12 นาที จำนวน 5 คน
นักเรียนหญิงอยู่ในเกณฑ์ปานกลางโดยใช้เวลา 13 นาที จำนวน 3 คน
และสามารถนำข้อมูลมาแสดงเป็นแผนภาพจุดได้ดังนี้
แผนภาพจุดแสดงเวลาที่ใช้ในการวิ่งของนักเรียนหญิง
เวลา (นาที) ที่ใช้ในการวิ่งระยะไกลของนักเรียนหญิง

Related Post